Page 20 - kpiebook63005
P. 20

19
































                  ที่มาและความส�าคัญ



                          นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารยึดอำานาจจากรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2554-2557) โดย
                  คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม

                  พ.ศ. 2557 ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาล คสช. ได้ดำาเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังและอย่างเปิดเผยในการ
                  กำาจัดตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง อีกทั้ง พยายามบั่นทอนสลายกลุ่มผู้รักประชาธิปไตย รวมไปถึง

                  กลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสียงข้างมากในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน
                  ภาคอีสานและภาคเหนือ ตลอดจน รัฐบาล คสช. ยังได้โจมตีการเมืองว่าด้วย “การเลือกตั้ง” ว่าเป็นแหล่ง

                                                      1
                  สะสมความทุจริตและเป็นการเมืองสกปรก  ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่หลังรัฐประหาร เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าไป
                  สั่งปิดและรื้อถอนป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงที่มีอยู่ประมาณ 15,000-20,000 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 20

                                                                                                      2
                  ของหมู่บ้านทั้งหมดทั่วประเทศ แน่นอนว่าหมู่บ้านส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่สองภูมิภาคข้างต้น  ทั้งนี้
                  เนื่องจากประเทศไทยเน้นการปกครองแบบรวมศูนย์อำานาจเข้าสู่ส่วนกลางอย่างเข้มข้น การที่กลุ่มผู้รัก

                  ประชาธิปไตยประกาศจัดตั้งหมู่บ้านเป็นของตนเอง จึงถูกประทับตรามาตลอดว่าเป็น “พวกแบ่งแยกดิน
                  แดน” สัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งเสื้อยืดสีแดง ผ้าพันคอสีแดง ธงสีแดง ขันอาบนำ้าสีแดง หนังสือหรือวารสารที่มี

                  รูปทักษิณและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแกนนำาคนเสื้อแดงอื่นๆ ภาพถ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ
                  คนเสื้อแดง จึงถูกเพ่งเล็งว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง สัญลักษณ์เหล่านี้หากไม่โดนเผา ก็ถูกทำาลาย รวมถึง

                       3
                  ถูกยึด  หรือไม่เช่นนั้น ชาวบ้านก็ต้องนำาไปเก็บซ่อนอย่างมิดชิด
                                                                         4
                  1  Pavin Chachavalpongpun, “The Politics of International Sanctions: The 2014 Coup in Thailand,” Journal
                  of International Affairs 68(1) (2014): 176.
                  2  Khajornsak Sitthi, “The Coup and Crisis: the 2014 Military Coup d’état and the Redshirt movement
                  in Thailand,” Paper presented at the Association for Asian Studies. Annual Conference, Toronto, Canada,
                  March 16-19, 2017.
                  3  Siwach Sripokangkul, “Reconciliation as Free-Floating Signification: Reconciliation after 2014 Coup in
                  Thailand,” Asia-Pacific Social Science Review 15(2) (2015): 125.
                  4  Lizzie Presser & Fabian Drahmoune, “Military raids and Thai Red Shirt disquiet,” Aljazeera (June 16, 2014),
                  https://www.aljazeera.com/indepth/features/2014/06/military-raids-thailand-red-shirt-disquiet-201461684655762406.
                  html (เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2557)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25