Page 8 - kpiebook63006
P. 8

8    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             ระเบียบวิธีวิจัย



                      งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยผู้วิจัยเข้าถึงข้อมูลและเก็บ

             รวบรวมข้อมูลเป็น 2 ส่วนคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาค
             สนาม ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                       1.   การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย

                            ข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น

                       2.   การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
                            (non -structured interview) จากผู้สมัครและคณะทำางาน สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์

                            ทางการเมือง

                       3.   การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) เช่น การลงพื้นที่หา
                            เสียงของผู้สมัครและคณะทำางาน การเปิดเวทีปราศรัย การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง






             แนวคิด ทฤษฎีในการวิจัย



                      ผู้วิจัยใช้แนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice theory) ในการ

             ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ซึ่งทฤษฎีนี้ มีฐานคิดว่าการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตของมนุษย์รวมทั้งการตัดสินใจ
             เลือกตั้งมาจากการคิดไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้วจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ตนได้รับอย่างทั่วถึง

             ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติของผู้สมัคร ความคิด ความเชื่อหรืออุดมการณ์ของผู้สมัคร ตลอดจนนโยบายของ
             พรรคที่ผู้สมัครสังกัด เหตุผลที่เลือกแนวคิด ทฤษฎีนี้เนื่องจากบริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของ

             การเลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ซึ่งใช้แนวคิด ทฤษฎีอัตลักษณ์ต่อพรรคการเมือง
             (party identification) หรือความผูกพันที่มีต่อพรรคการเมืองทำาให้พรรคประชาธิปัตย์ผูกขาดความนิยม

             ทุกของเขตเลือกตั้งของจังหวัดสงขลามาอย่างยาวนาน






             ผลการศึกษา



                      ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด

             สงขลาในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ จนส่งผลทำาให้เกิด
             การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งจาก 8 ที่นั่ง เหลือเพียง 3 ที่นั่ง

             เท่านั้น โดยพรรคพลังประชารัฐได้ 4 ที่นั่ง ที่เหลืออีก 1 ที่นั่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย รายละเอียดมีดังนี้
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13