Page 12 - kpiebook63011
P. 12

12   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             รับเลือกตั้งในพื้นที่มากกว่า กกต.หรือหน่วยงานของภาครัฐ จากการศึกษาพบว่าประชาชนไม่เข้าใจเรื่องการ
             เปลี่ยนแปลงบัตรเลือกตั้งที่มีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว และในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประชาชนไม่สามารถสะท้อน

             ความต้องการที่แท้จริงเพราะการพยายามให้สมการขององค์ประกอบ 3 อย่างคือ นายกรัฐมนตรี พรรคการเมือง

             และส.ส.เขตเลือกตั้ง ลงตัวในการหย่อนบัตรเลือกตั้งใบเดียวเป็นเรื่องที่ยาก แต่จากผลการศึกษาพบว่าประชาชน
             ในจังหวัดเชียงใหม่จึงให้นำ้าหนักในตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยพิจารณาจากพรรคการเมืองเป็นหลัก
             แม้จะมีจำานวนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้จำานวนมาก แต่พรรคการเมืองที่เด่นและมีความได้เปรียบจะยังคง

             มีเพียงพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น ๆ ไม่ได้รับความนิยม

             มากนัก แต่ด้วยระบบการเลือกตั้งที่นับทุกคะแนนเสียง ทุกพรรคการเมืองต่างต้องการหาเสียงเพื่อประโยชน์
             ของคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคแต่ไม่ได้หวังผลการชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่


                      การคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองในกรณีของจังหวัดเชียงใหม่ พรรคการเมืองมีแนวทาง
             ในการคัดเลือกผู้สมัครที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นพรรคอนาคตใหม่ที่มีวิธีการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง

             แตกต่างออกไป การคัดเลือกผู้สมัครในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่จะมีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1. คนที่เคยเป็นอดีต ส.ส.

             หรืออดีตนักการเมืองระดับชาติ 2. คนที่เคยดำารงตำาแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่นหรืออดีตข้าราชการ
             เครือข่ายทางการเมืองในท้องถิ่นของพรรคการเมือง รวมถึงคนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่เป็นที่รู้จัก
             โดดเด่นในจังหวัดเชียงใหม่ 3. คนที่มีความสนใจทำางานหรือเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองและเสนอตัวผ่าน

             การคัดเลือกของพรรค ประชาชนไม่ได้ให้ความสำาคัญต่อรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อมากนัก

             แต่เน้นไป 4 ประเด็น คือ รายชื่อคนที่พรรคเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าพรรค ชื่อพรรคการเมือง
             ชื่อผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งของตนเอง และนโยบายพรรคโดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจและการแก้ไข
             ปัญหาความยากจน ซึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยเฉพาะเขตรอบนอกตัวอำาเภอเมืองยังจดจำานโยบายของพรรค

             ไทยรักไทยในอดีต และต้องการนโยบายประชานิยมในลักษณะเดียวกันจากพรรคการเมืองที่หาเสียงเลือกตั้ง


                      ข้อสังเกตประการหนึ่งในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 คือ ระบบเลือกตั้งที่นับทุกคะแนน
             เสียงส่งผลให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งเพื่อให้ได้คะแนนเสียงไม่ว่าจะได้อันดับใด

             ก็ตาม เลยทำาให้การเลือกตั้งครั้งนี้บทบาททางเพศของชาย หญิง และเพศที่สามมีมากขึ้นในพื้นที่การเมืองของ
             จังหวัดเชียงใหม่หรืออาจกล่าวได้ว่าระบบการเลือกตั้งคือ เงื่อนไขสำาคัญในการกำาหนดพื้นที่ของโอกาสทางการเมือง

             ของผู้หญิง เพราะในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งเพศหญิงที่มีคุณสมบัติลงสมัครถึง 73 คน
             แต่มีผู้หญิงเพียงคนเดียวชนะเลือกตั้งในเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.และมาจากตระกูลการเมือง


                      ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพื้นที่ที่สำาคัญอีกประการคือ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกในจังหวัด

             เชียงใหม่ที่มีความสำาคัญทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองและในเชิงสัญญะของการเมืองในยุคเปลี่ยนผ่าน
             ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาถึง 12 แห่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มนี้มีความนิยมใน

             พรรคอนาคตใหม่ที่เป็นไปตามยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคอยู่แล้ว ประกอบกับรูปแบบและวิธีการหาเสียง
             ที่เน้นสื่อออนไลน์และกิจกรรมสาธารณะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำาให้พรรคอนาคตใหม่ได้รับ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17