Page 12 - kpiebook63012
P. 12

12   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา







                                           บทคัดย่อ





















                      การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบ วีธีการ และผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ กรณีศึกษา:

             จังหวัดพะเยา เพื่อศึกษาบริบท และ สถานการณ์ทางการเมืองของจังหวัดพะเยา ช่วงก่อน ระหว่างและหลัง
             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา รวมถึงศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง

             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชน ภาคประชาสังคม กลุ่มทางการเมือง
             ผู้นำาท้องที่และท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง

             โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและสัมภาษณ์เชิงลึก
             โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น แบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยา โดยแบ่งตามสัดส่วนลักษณะประชากรศาสตร์
             ในเขตเลือกตั้งที่ 1, 2 และ 3 ตัวแทนภาคประชาสังคมกลุ่มทางการเมือง ผู้นำาท้องที่ และ ท้องถิ่น หน่วยงาน

             ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา

                      โดยผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งบริบทและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพะเยา

             ช่วงก่อนการเลือกตั้งฯ ส่งผลให้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมากที่สุดในประวัติการณ์การเลือกตั้งฯ

             จังหวัดพะเยา โดยมีผู้สมัครรวมทั้งสิ้นจำานวน 65 คน และผู้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 3 มีจำานวนมากที่สุด คือ
             30 คน สถานการณ์ที่สำาคัญและมีผลต่อการเลือกตั้งของจังหวัดพะเยา คือ การย้ายพรรคของบุคคลสำาคัญ
             ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองเดิมสู่พรรคการเมืองใหม่ ซึ่งประชากรทุกกลุ่มต่างมี

             ความรู้สึกว่าการเลือกตั้งฯ ครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีความตื่นตัว และระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ก็มีทั้งข้อดี

             และข้อเสีย


                      ในด้านของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ มีรูปแบบและวิธีการการหาเสียงที่สามารถระบุการสื่อสารรณรงค์
             ทางการเมืองของตนไปยังกลุ่มอาชีพและกลุ่มเป้าหมายตามโครงสร้างประชากรได้ เช่นการหาเสียงผ่านรูปแบบ
             นโยบายทางด้านการเกษตรและเศรษฐกิจ ส่วนรูปแบบการหาเสียงที่เน้นตัวบุคคลนั้นมีทั้งการนำาเสนอบุคคล

             ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ในเขตเลือกตั้งนั้น และตัวบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อ

             พิจารณาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 88 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17