Page 6 - kpiebook63013
P. 6

6    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี







                                           บทคัดย่อ





















                      หนังสือ การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562

             จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดทำาขึ้นจาก การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบของการเลือกตั้ง
             ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่: กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง

             ทั้งในส่วนของผู้ลงสมัครจากพรรคการเมืองต่าง ๆ การรณรงค์หาเสียง การร้องเรียน ความตื่นตัวและทัศนะของประชาชน
             ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อการเลือกตั้ง และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมือง
             ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ

             บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของ

             ประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
             5) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่าย

             ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 6) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง
             ของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์

             ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสำารวจ
             ทบทวนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในประเด็น

             ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งทุกเขต
             และเป็นการเก็บข้อมูลทั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม

             และไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) บรรยากาศทางการเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความตื่นตัวของผู้สมัคร
             ลงรับเลือกตั้งจำานวนมากอันเป็นผลจากการไม่ได้มีการเลือกตั้งมาเป็นเวลานานถึงแปดปีและผลจากการใช้ระบบ

             การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม แม้ว่าจะมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขันจำานวนมากแต่ไม่ได้เป็นการแข่งขันที่รุนแรง
             2) วิธีการหาเสียงของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลง

             ไปจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามากนัก ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือการนำาสื่อออนไลน์มาช่วยในการหาเสียง
             ส่วนพฤติกรรมการหาเสียงของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้มีการอภิปรายโจมตีให้ร้ายระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยกัน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11