Page 5 - kpiebook63030
P. 5

4     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี





                                          ค�ำน�ำผู้เขียน

















                      หนังสือ “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
             ราษฎร 2562 จังหวัดปัตตานี” จัดทำาขึ้นจากรายงานการวิจัย “การศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบ

             การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี” ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า
             สำาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ด้วยปัจจัย 3 ประการดั้งนี้


                      ประการแรก การเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับปี พ.ศ. 2560 โดยมีพระราชบัญญัติ

             ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 หลายมาตราถือว่าเป็นเรื่องใหม่
             มีความแตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา ทำาให้พรรคการเมืองและผู้ลงสมัครเลือกตั้ง ต้องศึกษาใหม่ทั้งหมด

             หากกล่าวในเฉพาะพื้นที่จังหวัดปัตตานี ก็มีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีพรรคการเมืองส่ง
             ผู้ลงสมัครจำานวนมาก นั้นก็หมายความว่าทุกคะแนนเสียงย่อมส่งผลต่อพรรคในสัดส่วนคะแนนบัญชีรายชื่อ

             ของพรรคตามรัฐธรรมนูญใหม่


                      ประการที่สอง ภูมิทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสื่อออนไลน์ (Social Media) ส่งผลต่อรูปแบบ
             วิธีการ หาเสียงของพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครเลือกตั้ง “ปรากฏการณ์ใหม่” สำาหรับพื้นที่จังหวัดปัตตานี
             ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำาให้ผู้สมัครบางรายไม่สามารถสื่อสารทางสื่อออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ยกเว้นผู้สมัครที่เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ใช่ว่าจะได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งตามกระแสสื่อออนไลน์ แม้ว่า

             สื่อออนไลน์จะทะลุทะลวงไปถึงในหมู่บ้าน หากทว่าระบบหัวคะแนน สายสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ระบบ
             อุปถัมภ์ก็ยังคงมีผลต่อผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดปัตตานี
             ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่มีนักศึกษาจำานวนเกือบหนึ่งหมื่นคน

             ก็มีผลสะเทือนต่อผู้สมัครหน้าเก่า ด้วยเหตุผลของกระแสพรรคคนรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมจากเยาวชน

             คนหนุ่มสาวจำานวนมาก ดังนั้นจึงทำาให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเห็นถึงความจำาเป็นของสื่อออนไลน์มากขึ้น


                      ประการที่สาม ความรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็น
             บริบทหลักหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ทำาให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งต่อแนวนโยบายทาง
             ด้านสันติภาพ หรือการลดความรุนแรง การเลือกตั้งครั้งนี้ก็เช่นกัน การปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้ง

             ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ต้องกล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

             ต่อเนื่องด้วยนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของชาวบ้านที่ประสบปัญหา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10