Page 112 - kpi12821
P. 112

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   3. เหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง



                        จุดอ่อนประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญไวมาร์ (Weimar Constitution) คือ มิได้
                                                         64
                   กำหนดเกี่ยวกับการยุบเลิกพรรคการเมืองไว้  ส่งผลให้รัฐจะยุบเลิกพรรคการเมืองได้
                   ก็ต่อเมื่อพรรคการเมืองนั้นกระทำผิดกฎหมายอาญาโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจรัฐ
                   เท่านั้น อันเป็นช่องทางให้ระบอบเผด็จการซึ่งแฝงตัวในคราบพรรคการเมืองใช้
                                                                                   65
                   กระบวนการตามรัฐธรรมนูญ คือ การเลือกตั้งเป็นทางผ่านเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐ  จากนั้น
                   จึงใช้อำนาจรัฐทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยยุบเลิกพรรคการเมืองอื่นๆ และลิดรอน
                   สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน จนสถาปนาระบอบเผด็จการได้สำเร็จ เฉกเช่นที่พรรคนาซี
                   (NSDAP – Nazi Party) ภายใต้การนำของอด๊อฟ ฮิตเล่อร์ (Adolf Hitler) เคยทำสำเร็จ
                                                      66
                   มาแล้วในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง  ดังนั้น  รัฐธรรมนูญเยอรมันฉบับปัจจุบัน
                                                                                    67
                   จึงกำหนดเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างชัดแจ้งในมาตรา 21 (2)  โดยมี
                   รายละเอียดต่อไปนี้
                      64    Donald P. Kommers, เรื่องเดิม, น. 218; อย่างไรก็ดี มีผู้โต้แย้งว่า ที่จริงแล้ว รัฐธรรมนูญไวมาร์มี
                   บทบัญญัติว่าด้วยอำนาจของประธานาธิบดีในกรณีฉุกเฉินซึ่งอาจนำมาใช้เพื่อควบคุมหรือแม้แต่ยุบเลิก
          0        พรรคการเมืองได้ โปรดดู Dan Gordon, เรื่องเดิม, น. 372 ในเชิงอรรถที่ 175; ปัญหาที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ
                   ไวมาร์ก็คือไม่อาจตอบสนองต่อภัยคุกคามระบอบรัฐธรรมนูญที่แฝงตัวมาในรูปแบบที่ชอบด้วยกระบวนการ
                   ประชาธิปไตยต่างหาก; John Finn, “Electoral Regimes and the Proscription of Anti-Democratic
                   Parties,” ใน David C. Rapoport และ Leonard Weinberg (ed.), The Democratic Experience and
                   Political Violence, (London: Frank Cass, 2001) น. 63.

                      65   บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 90; และ Thilo Rensmann, “Procedural Fairness
                   in a Militant Democracy: The “Uprising of the Decent” Fails Before the Federal Constitutional
                   Court,” GLJ, Vol. 4 Issue 11 (November, 2003), น. 1117.

                      66   บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น.55 – 56; อนึ่ง แท้ที่จริง พรรค Nazi ของฮิตเล่อร์เคยถูก
                   สั่งห้ามและยุบไปแล้วในหลายมลรัฐในช่วงปี ค.ศ. 1922 – 1923 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังความพยายาม
                   ก่อการรัฐประหารโดยกองกำลังนาซี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1923 และศาลก็ได้พิพากษาจำคุกฮิตเล่อร์ แต่
                   เนื่องจากรัฐสภาแห่งสหพันธ์ (Reichstag) ผ่านมติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 ให้ยกเลิกคำสั่งห้ามและยุบ
                   พรรคนาซี และต่อมามีการปล่อยตัวฮิตเล่อร์ ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน พรรคนาซีและฮิตเล่อร์จึงกลับเข้าสู่
                   วงจรการเมืองอีกครั้ง โปรดดู David Jablonsky, The Nazi Party in Dissolution: Hitler and the
                   Verbotzeit 1923-1925, (Exeter: Frank Cass and Company, 1989), น.4, 7 – 10, และ 109.
                      67    มาตรา 21 (2) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกลับคืนมาของพรรคนาซีใหม่ โปรดดู Markus Thiel, เรื่อง
                   เดิม, น. 121; นอกจากนั้นผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังมุ่งหมายให้มาตรานี้เป็นเครื่องมือสกัดกั้นการรุกรานของรัฐบาล
                   พรรคคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออก โปรดดู Peter Niesen, “Anti-Extremism, Negative Republicanism,
                   Civic Society: Three Paradigms for Banning Political Parties - Part I,” GLJ, Vol. 3 No. 7 (July 2002),
                   น. 7; อย่างไรก็ดี มีผู้โต้แย้งว่า เนื้อความในมาตราดังกล่าวมีลักษณะไม่ชัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญ
                   ต้องวินิจฉัย “ทางการเมือง” มิใช่ “ทางตุลาการ (กฎหมาย)” ในการปรับใช้ตัวบทดังกล่าวต่อคดีเป็นการเฉพาะ
                   เจาะจง; Carl J. Schneider, เรื่องเดิม, น. 533.
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117