Page 118 - kpi12821
P. 118

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   เป็นการทำลายระบบหลายพรรคการเมือง – หัวใจของระบอบเสรีประชาธิปไตย  และ
                                                                                      95
                                                       96
                   นำไปสู่ระบอบเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์  หรือระบอบเผด็จการระบอบฟาสซิสต์/
                                                     97
                   นาซิสต์ (Fascism/Nazism) ในท้ายที่สุด  นโยบายกดขี่-ประหัตประหารชาวยิว (Anti-
                   Semitism) ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง  ทั้งนี้ ไม่ว่าเป้าหมาย
                                                                        98
                   ดังกล่าวจะเปิดเผยปรากฏชัดในเอกสารทางการของพรรค หรือเป็นเป้าหมายลับลวง
                   พรางที่จำเป็นต้องพิเคราะห์พฤติการณ์ต่างๆ ของสมาชิกพรรคโดยละเอียดอีกชั้นหนึ่ง 99


                             3.3.3   ปัจจัยชี้ขาด: พฤติกรรมของสมาชิกพรรคการเมือง


                                     เบื้องต้น การจะพิสูจน์ได้ว่า พรรคการเมืองใดยึดถืออุดมการณ์ที่
                   เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักการพื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย หรือมีเป้าหมายที่จะ
                   ล้มล้างหรือคุกคามหลักการพื้นฐานดังกล่าวตลอดจนการดำรงอยู่ของสหพันธ์

                   สาธารณรัฐหรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาจากพยานหลักฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                   พฤติการณ์ของสมาชิกพรรคการเมือง  และแม้ว่าพรรคการเมืองจะยึดถืออุดมการณ์
                                                   100
                   หรือมีเป้าหมายดังกล่าวจริง แต่หากปราศจากการกระทำของบรรดาสมาชิกทั้งหลาย
                   ของพรรคการเมืองเพื่อให้บรรลุซึ่งอุดมการณ์หรือเป้าหมายนั้นๆ เสียแล้ว ก็ย่อมไม่อาจ
                   วินิจฉัยได้ว่า พรรคการเมืองดังกล่าวมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ 101


                                     (ก) การจัดโครงสร้างและการบริหารงานภายในพรรคการเมือง

                                         โดยหลัก การที่พรรคการเมืองจัดโครงสร้างและมีระบบการ
                   บริหารงานภายในพรรคไม่เป็นประชาธิปไตยเพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะให้ถือเป็น

                      95    Walter F. Murphy and Joseph Tanenhaus, เรื่องเดิม, น. 606; และ Samuel  Issacharoff,
                   เรื่องเดิม, น. 1434 - 1435.

                      96   เป็นการประยุกต์แนวคิดมาร์กซิสต์โดยเลนิน เพราะเชื่อว่า สภาพสังคมภายหลังการปฏิวัติ ชนชั้น
                   กรรมาชีพยังขาดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง จึงต้องอาศัยการชี้นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนจะเข้าสู่สังคมใน
                   อุดมคติ (Utopia) ที่ปราศจากการแบ่งชนชั้น โดยรัฐหมดความจำเป็นและสลายตัวไปในที่สุด โปรดดู ธานินทร์
                   กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 6 – 21; และ ชาญชัย แสวงศักดิ์, เรื่องเดิม, น. 174 – 178.

                      97   เป็นระบอบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ มิได้มีรากฐานวิชาการ หากแต่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า สังคมจะเข็มแข็ง
                   เจริญก้าวหน้าได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดตั้งและชี้นำโดยกลุ่มชนที่มีสติปัญญาและชาติพันธุ์แห่งความเป็นผู้นำเพื่อก่อให้
                   เกิดความเป็นเอกฉันท์ในสังคม โปรดดู  ชาญชัย แสวงศักดิ์, เรื่องเดิม, น. 214 – 222.

                      98   BVerfGE 2, 1 อ้างถึงใน Walter F. Murphy and Joseph Tanenhaus, เรื่องเดิม, น. 606;

                      99   BVerfGE 5, 85 (144, 336) อ้างถึงใน Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 233.
                      100    Carl J. Schneider, เรื่องเดิม, น. 538.
                      101   BVerfGE 5, 85 (142) อ้างถึงใน เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123