Page 12 - kpi12821
P. 12

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                                   ข้อห้ามอื่นๆ ตามกฎหมายเลือกตั้ง


                                     ส่วนเหตุยุบพรรคการเมืองเพราะสมาชิกหรือกรรมการบริหาร
                                   พรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบ

                                   รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา
                                   ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการ
                                   เลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                                   นั้น แม้เป็นกรณีที่บัญญัติไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรค
                                   สองก็ตาม แต่ผู้วิจัยก็เห็นว่า เป็นหลักการที่ไม่สอดคล้องกับหลัก

                                   นิติธรรมหรือหลักนิติรัฐ และหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
                                   ประเทศ จึงจัดไว้ในกลุ่มที่มีปัญหาในเชิงหลักการนี้ด้วย


                               (3) ผลของการยุบพรรคการเมือง ได้แก่ กรณีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                                   ทั้งตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้กรรมการ
                                   บริหารพรรคทั้งคณะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปพร้อมกับการยุบ
                                   พรรค หรือกรณีตามมาตรา 98 ของกฎหมายพรรคการเมืองที่

                                   กรรมการบริหารพรรคการเมืองอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง           (11)

                               1.2.2   ปัญหาจากการใช้และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและ

                    กฎหมาย

                                      เหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

                    มาตรา 68 ซึ่งได้รับการขยายความโดยมาตรา 94 (1) (3) และ (4) นั้น เป็นเหตุแห่งการ
                    ยุบพรรคการเมืองที่สอดคล้องกับหลักการยุบพรรคการเมืองที่ได้รับการยอมรับใน
                    ประเทศประชาธิปไตยดั้งเดิมทั้งหลายและสอดคล้องกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                    ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ถ้อยคำที่บัญญัติเป็นกฎหมายมีลักษณะ
                    กว้างขวาง ไม่เฉพาะเจาะจง จึงเคยเกิดกรณีที่มีการตีความแบบขยายความ ส่งผลให้

                    หลายฝ่าย โดยเฉพาะนักวิชาการ เห็นว่า เป็นการตีความที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ
                    หลักการตีความรัฐธรรมนูญและขัดกับหลักตรรกะ รวมทั้งยังมีผลเป็นการลิดรอน
                    สิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีที่ประเทศไทยเป็นภาคี นอกจากนี้ การประเมินสภาพข้อ

                    เท็จจริงเกี่ยวกับ “ความร้ายแรง” ของพฤติการณ์หรือการกระทำของพรรคการเมือง
                    กรรมการบริหาร หรือสมาชิกพรรคอันเป็นเหตุให้สั่งยุบพรรคต่างๆ ในคดีที่ผ่านๆ มา
                    ก็ยังต้องด้วยข้อสงสัยว่า เป็นไปตามมาตรฐานในศาลของประเทศประชาธิปไตยดั้งเดิม
                    และศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือไม่
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17