Page 145 - kpi12821
P. 145
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
เป็นรายๆ ไป อันได้แก่ (1) ความผิดเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมือง เป็นต้นว่า
ปกปิดแหล่งที่มาของเงินบริจาค ปกปิดการใช้จ่ายเงินอุดหนุน ฝ่าฝืนไม่เปิดเผยบัญชีการ
รับบริจาคต่อสาธารณะ ยื่นบัญชีและรายงานการเงินไม่ถูกต้อง แบ่งเงินรับบริจาคเป็น
ก้อนเล็กๆ เพื่อไม่ต้องลงบัญชี รับเงินบริจาคแล้วไม่เอาเข้าพรรคการเมือง เหล่านี้ต้อง
217
ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือต้องโทษปรับ และ (2) ความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ตัวอย่างเช่น ขัดขวางการเลือกตั้ง โกงผลการเลือกตั้ง ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย
ข้อความอันเป็นเท็จ ยินยอมให้มีการเสนอชื่อตนลงสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้ทั้งรู้ว่าตนไม่มี
สิทธิสมัคร ละเมิดหลักการเลือกตั้งต้องเป็นไปโดยลับ (Secret Ballot) บังคับข่มขู่
หลอกลวงให้เลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครใดหรือพรรคการเมืองใด ซื้อสิทธิขายเสียง การ
กระทำเหล่านี้ย่อมมีความผิดอาญาเสี่ยงต่อโทษปรับและจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี 218
นอกจากนี้ ในกรณีที่ศาลสั่งจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปในหลายๆ ฐานความผิดที่
เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งสาธารณะ สิทธิใน
219
การลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือแม้แต่สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา
เยอรมันถือว่าการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเหล่านี้เป็น “ผลข้างเคียงของโทษทาง
อาญาหลัก” (Nebenfolgen – Collateral Consequences) ซึ่งหมายถึง “ผล 11
220
ในทางกฎหมายตามกฎหมายอาญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดอาญาที่ไม่ได้มี
ลักษณะของโทษทางอาญา ผลข้างเคียงอื่นๆ นี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับโทษทาง
อาญาข้างเคียงในแง่ที่ว่า จะลงโทษผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีการลงโทษทาง
อาญาหลักด้วย” กล่าวโดยสรุป โดยทั่วไป ต้องถือว่าการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง
221
ในประการต่างๆ ดังกล่าวในระบบกฎหมายเยอรมันมักจะเกิดขึ้นในการพิจารณา
พิพากษาคดีอาญา
217 PartG, § 31d.
218 StGB §§ 107 – 108b.
219 StGB § 108c.
220 StGB § 45 (2), (5); อนึ่ง ผลข้างเคียงของโทษอาญา (Nebenfolgen) นั้นมิใช่ “โทษอาญาข้างเคียง”
(Nebenstrafe) ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน ณ ปัจจุบัน เหลืออยู่เพียงประการเดียว อันได้แก่ การห้าม
ขับขี่ยานพาหนะ ส่วนโทษอาญาหลัก (Hauptstrafe) มี 2 ประการคือ โทษจำคุกและโทษปรับ โปรดดู ณรงค์
ใจหาญ และคณะ, รายงานสรุปโครงการวิจัย เรื่อง “ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับ
ใช้ในประมวลกฎหมายอาญา,” ดุลพาห, เล่ม 2 ปีที่ 53 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2549), น. 29 – 31; เปรียบเทียบ
กับระบบกฎหมายไทย โปรดดู คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, พิมพ์ครั้งที่ 3,
2551), น. 381.
221 ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, เรื่องเดิม, น. 31.