Page 244 - kpi12821
P. 244

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   เหตุสิ้นสภาพข้อนี้จึงต้องตีความอย่างแคบ เพราะฉะนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า หาก

                   พรรคการเมืองใดได้ส่งสมาชิกลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว
                   แล้ว ก็ไม่ถือว่ามีเหตุแห่งการสิ้นสภาพอีกต่อไป จึงไม่อาจประกาศให้พรรคการเมืองนั้น
                   สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองได้


                        3.3 ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การไม่ส่งสมาชิก
                           ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.


                             3.3.1 หน้าที่ในการลงเลือกตั้ง ส.ส. ของพรรคการเมือง

                             เมื่อศึกษาตำรารัฐศาสตร์เกี่ยวกับพรรคการเมืองหลายเล่ม พบว่า

                   พรรคการเมืองนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างน้อยที่สุด คือ “เพื่อการชนะเลือกตั้งและเพื่อ
                   การใช้อำนาจในการบริหารประเทศ”  “มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
                                                    96
                   และมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล”       97
                   “ต้องการเป็นรัฐบาล”  หรือต้อง “หาโอกาสที่จะเข้าร่วมรัฐบาล”  เพื่อนำเอา
                                                                                99
                                        98
                   นโยบายของพรรคการเมืองของตนไปเป็นนโยบายของรัฐบาลหรือเป็นส่วนหนึ่งของ
                                                      100
          1        นโยบายรัฐบาล โดยวิถีทางประชาธิปไตย  หรือไม่เช่นนั้น ก็ต้อง “เป็นฝ่ายค้านคอย
                   ชี้แนะข้อบกพร่องในนโยบายรัฐบาล”  การจะเป็นรัฐบาลก็ดี การเข้าร่วมรัฐบาลก็ดี
                                                    101
                   หรือการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาก็ดี จำเป็นที่พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกพรรคเป็น

                   ส.ส.  จริงอยู่ แม้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอาจเชิญ
                       102

                      96   กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 60.
                      97   วิทยา นภาศิริกุลกิจ และสุรพล ราชภัณฑารักษ์, พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์, (กรุงเทพฯ:
                   สำนักพิมพ์ประชาชน, 2524), น. 9.
                      98   ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, , พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช,
                   2524), น. 13.

                      99   ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ และ สุชิน  ตันติกุล (ผู้รวบรวม), พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์, เอกสารแนว
                   คำบรรยายมหาวิทยาลัยรามคำแหง, (ม.ป.ม.,ม.ป.ท.,), น. 11.

                      100   หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511, (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,
                   2512), น. 3-5 และ 115
                      101   ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ และ สุชิน  ตันติกุล (ผู้รวบรวม), เรื่องเดิม, น. 11.

                      102   อย่างไรก็ดี นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับ พ.ศ. 2540)
                   อภิปรายว่า พรรคการเมืองในโลกมีสองลักษณะ คือ ที่ส่งคนลงเลือกตั้งและไม่ส่งคนลงเลือกตั้งแต่มุ่งสร้าง
                   เจตจำนงทางการเมืองเท่านั้น โปรดดู รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 26 (เป็นกรณีพิเศษ)
                   25 กรกฎาคม 2540, น. 270.
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249