Page 257 - kpi12821
P. 257
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
เวลาพอสมควร แต่ก็ยังมีองค์ประชุมไม่ครบอยู่ดี เช่นนี้ ย่อมถือว่ามีเหตุอันสมควรจะอ้าง
ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น จึงจะวินิจฉัยให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไปมิได้
4.2 หลักเกณฑ์การสิ้นสภาพเพราะเหตุไม่ดำเนินกิจกรรมใดๆ
ทางการเมือง
กิจกรรมทางการเมืองที่พรรคการเมืองจัดขึ้นเป็นกลไกที่ช่วยให้ประชาชน
รับรู้อุดมการณ์และนโยบายของพรรค รับทราบจุดยืนและแนวทางในการบริหารและ
แก้ไขปัญหาของประเทศ และหากประชาชนเห็นด้วยกับสิ่งที่พรรคการเมืองนำเสนอ
ส่วนหนึ่งก็อาจเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค ส่วนที่เหลือแม้ไม่เข้าเป็นสมาชิกพรรคแต่ก็
145
ฝักใฝ่และให้การสนับสนุนผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองนั้น ในทางทฤษฎี
กิจกรรมทางการเมืองจึงเป็นวิธีการเชื่อมประชาชนเข้ากับพรรคการเมือง ด้วยเหตุนี้
กฎหมายพรรคการเมืองจึงกำหนดให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นองค์ประกอบ
หนึ่งในบทนิยามพรรคการเมือง และหากพรรคการเมืองใดไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ
ทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี โดยมิได้มีเหตุอันสมควรอันจะอ้างได้ตาม
กฎหมาย พรรคการเมืองนั้นก็จะสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไปตามมาตรา 91
(4) นี้
เบื้องต้น คงต้องแยกแยะความแตกต่างของคำว่า “กิจกรรม” และ
“กิจการ” กล่าวคือ ในมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่า “เพื่อ
146
ดำเนินกิจกรรมในทางการเมือง” จากเดิมที่เคยใช้คำว่า “เพื่อดำเนินกิจการใน
ทางการเมือง” ในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อพิจารณาบทบัญญัติต่างๆ ทั้ง
ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมืองที่ปรากฏคำทั้งสองคำนี้แล้ว เห็นได้ว่า
“กิจการ” นั้นจะหมายถึง การดำเนินการภายในของพรรคการเมือง เป็นการติดต่อ
สัมพันธ์ในระหว่างกันเองในหมู่ผู้นำ กรรมการพรรค และสมาชิก เช่น การประชุมใหญ่
ของพรรค การคัดเลือกสมาชิกเพื่อส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในนามของพรรค การจัด
ตั้งสาขาพรรค ฯลฯ ส่วน “กิจกรรม” ทางการเมืองนั้นมีความหมายกว้างขวางกว่า
147
เพราะกินความรวมทั้งกิจการอันเป็นเรื่องภายในของพรรค และการกระทำของ
พรรคการเมืองที่แสดงออกสู่ภายนอกที่เป็นการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ที่มิใช่
สมาชิกพรรคด้วย เป็นต้นว่า การโฆษณานโยบายพรรคผ่านสื่อต่างๆ การอบรมให้ความรู้
145 หยุด แสงอุทัย, เรื่องเดิม, น. 3.
146 เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 2540, ม. 47 วรรคสอง
147 พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 26– 28, ม. 34 และ ม. 38