Page 45 - kpi12821
P. 45

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    of Law) ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่างๆ สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ สภาพสังคม

                    เศรษฐกิจ และการเมืองไทยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านมา ปรากฏชัด
                    แล้วว่า การจัดทำยกร่างกฎหมายไทยโดยอาศัยนิติวิธีการศึกษากฎหมายในเชิง
                    เปรียบเทียบ (Comparative Law) แต่เพียงอย่างเดียว บางครั้งกลับนำไปสู่ข้อสรุปที่ไม่
                    สอดรับกับสภาพสังคมไทย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อสรุปที่ได้ไม่เพียงแต่มิได้แก้ไขปัญหา
                    หากแต่กลับยิ่งบ่มเพาะปัญหาโดยเฉพาะประเด็นปัญหาที่เป็นผลมาจากความแตกต่าง

                    เหลี่อมล้ำระหว่างประเทศต้นแบบในการศึกษาเปรียบเทียบ และประเทศไทยทั้งในแง่
                    ระบบกฎหมายและวัฒนธรรมทางกฎหมาย และบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และ
                    สังคม


                               ในการนี้ หากพิเคราะห์เจาะจงเฉพาะประเด็นการยุบพรรคการเมือง
                    จะพบว่า เหตุผลหลักของการกำหนดให้มีกลไกการยุบพรรคการเมืองก็คือ

                    พรรคการเมืองกลายเป็นภยันตรายคุกคามระบอบการเมืองการปกครองของประเทศ
                    นั้นๆ เสียเอง เช่นที่อด๊อฟ ฮิตเลอร์ใช้พรรคนาซี (Nazi Party) หรือที่เบนนิโต้ มุสโสลินี
                    ใช้พรรคฟ๊าสซิสต์แห่งชาติ (National Fascist Party) เป็นช่องทางเข้าสู่อำนาจการเมือง
                    ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง จากนั้น จึงค่อยๆ สถาปนาระบอบเผด็จการขึ้น  หรือสภาพ      1
                                                                                  9
                    ปัญหาปัจจุบันในรัสเซียและสเปนที่กำลังเผชิญกับปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนแคว้น

                    Chechen และแคว้น Basque โดยลำดับ ซึ่งมีการใช้พรรคการเมืองเคลื่อนไหวเสนอข้อ
                    เรียกร้องทางการเมืองอย่างเปิดเผย ไปพร้อมๆ กับการก่อการร้าย ยูเครนและประเทศ
                    ในยุโรปตะวันออกอื่นๆ หลายประเทศที่กลุ่มผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์พยายามรื้อฟื้น

                    พรรคคอมมิวนิสต์เดิม  เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่จะนำกฎหมายเกี่ยวกับการยุบ
                                       10
                    พรรคการเมืองมาศึกษาก็น่าจะมีประสบการณ์หรือกำลังเผชิญอยู่กับภัยคุกคามจาก
                    พรรคการเมือง สมดังคำกล่าวที่ว่า กฎหมายย่อมมีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหรือ
                    แก้ไขปัญหาของสังคม


                       9   Gregory H. Fox, and Georg Nolte, “Intolerant Democracies,” Harvard International Law
                    Journal (Vol. 36 Winter, 1995) น. 10 – 11.

                       10   ในปี ค.ศ. 1992 ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียวินิจฉัยรับรองการใช้อำนาจของประธานาธิบดีบอริส เยลซินใน
                    การออกรัฐกำหนดเพื่อยุบพรรคคอมมิวนิสต์และยึดทรัพย์สินให้ตกเป็นของรัฐ แต่ขณะเดียวกัน กลับปฏิเสธที่จะ
                    ประกาศว่า พรรคคอมมิวนิสต์นั้นเป็นพรรคการเมืองที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ; Alexei Trochev, Judging
                    Russia – Constitutional Court in Russian Politics 1990-2006, (Cambridge: Cambridge
                    University Press, 2008) น. 106 – 107 และ 192; 10 ปีต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญยูเครนวินิจฉัยว่า รัฐกำหนด
                    ยุบพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครนที่ใช้มาเป็นเวลา 10 ปีนั้นขัดรัฐธรรมนูญ; โปรดดู Alexei Trochev, “Ukraine:
                    Constitutional Court Invalidates Ban on Communist Party,” International Journal of
                    Constitutional Law, (Vol. 1, July, 2003) น. 534 – 540.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50