Page 52 - kpi12821
P. 52
ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมายในการจัดทำงบประมาณของ อบต.?
หลักการยุบพรรคการเมืองจะมิใช่เรื่องใหม่ เพราะปรากฏใน
กฎหมายพรรคการเมืองไทยมาตั้งแต่ฉบับแรก (ฉบับ พ.ศ. 2498)
แม้และในฉบับต่อๆ มา แต่การปรับใช้หลักการดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็น
ปัญหาเด่นชัดมากในช่วงเวลาที่ใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค
การเมือง พ.ศ. 2541 ซึ่งในระยะแรกไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ตราบจนกระทั่งมีคดี
ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ มี ส.ส. ในสังกัด 377 คนจาก
ทั้งหมด 500 คน และมีสมาชิกพรรคกว่า 10 ล้านคน ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล
รัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ประเด็นการยุบพรรคการเมืองกลายเป็นประเด็นร้อนสำหรับ
นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ และประชาชนทั่วไป มิหน่ำซ้ำ ต่อมายังมีการบัญญัติเหตุ
ยุบพรรคการเมืองเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต
และเที่ยงธรรมไว้ในมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 อันส่งผลให้
0
พรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรถึง 3 พรรคคือ พรรคพลังประชาชน พรรค
ชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยต้องถูกยุบไป และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงขั้วรัฐบาล
ยิ่งทำให้ประเด็นนี้ร้อนแรงขึ้นไปอีก กลายเป็นประเด็นหลักที่มีกระแสเรียกร้องให้แก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมากที่สุดและในขณะเดียวกันก็มีกระแสคัดค้านมากที่สุดไปพร้อมๆ
กัน ล่าสุดนั้น มีคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของไทยขึ้นสู่ศาล
รัฐธรรมนูญ ทำให้มาตรการการยุบพรรคการเมืองนี้กลายเป็นปัจจัยชี้ชะตาอนาคต
ทิศทางของการเมืองไทยเลยทีเดียว
ในบทนี้ ผู้วิจัยจะได้อธิบายภาพรวมของการสิ้นสุดลงของพรรคการเมืองไทย
ในอดีต และในปัจจุบันที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ทั้งในส่วนเหตุแห่งการยุบพรรค
กระบวนการยุบพรรค และผลของการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างคร่าวๆ