Page 75 - kpi12821
P. 75
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
กฎหมาย และด้วยความที่กฎหมายพรรคการเมืองฉบับปัจจุบันมีมาตรการหลายอย่างที่
ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
ลดทอนอิทธิพลของเงินที่มีอยู่เหนือพรรคการเมือง อาทิ การให้เงินสนับสนุนจากรัฐ
การจำกัดเพดานการบริจาคเพื่อกระจายแหล่งที่มาของเงินทุนพรรคการเมือง การให้
ประชาชนบริจาคภาษีให้พรรคการเมือง ฯลฯ แม้ว่า ณ ปัจจุบัน จะยังไม่สามารถบังคับ
ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้เท่าที่ควรก็ตาม ก็นับว่ามีทิศทางแนวโน้มที่ดีที่พรรคการเมือง
ต่างๆ อาจมีพัฒนาการต่อไปถึงขั้นที่เป็นสถาบันได้
แต่ทั้งนี้ นายทะเบียน และ กกต. ควรต้องกวดขันการบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองอย่างจริงจัง โดยเลือกใช้มาตรการที่
เหมาะสม จัดการเอาผิดกับหัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรคที่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง
ข้อกฎหมาย ซึ่งในระยะยาวน่าจะเกิดประโยชน์ต่อระบบพรรคการเมืองไทยมากกว่า
การเอาจริงเอาจังกับการยุบพรรคการเมือง
สภาพข้อเท็จจริงในระยะที่ผ่านมา ยังบ่งชี้ต่อไปอีกว่า ภายหลังการยุบ
พรรคการเมืองหนึ่งไปแล้ว ก็จะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่โดยกลุ่ม ส.ส. หรือ
อดีต ส.ส. ที่เคยสังกัดพรรคการเมืองนั้นเพื่อการนี้ จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก
ในการจัดตั้งพรรค และการบริหารจัดการภายในพรรค เช่น จัดหาที่ทำการพรรค จัดตั้ง
สาขาพรรค จัดหาสมาชิกพรรค ฯลฯ ตรงจุดนี้เองเป็นช่องทางที่ทุนจะกลับเข้าครอบงำ
พรรคการเมืองได้อีกครั้ง ทั้งนายทุนที่มาจากภาคธุรกิจและนายทุนที่อยู่ในคราบนักการ
เมือง ดังนั้น ในความเป็นจริง การยุบพรรคการเมืองจึงแทบจะไม่มีผลอะไรนอกเหนือไป
จากการกำจัดทรัพย์สินของพรรคการเมืองและการทำให้กลุ่มการเมืองดังกล่าวต้องกลับ
ไปเริ่มนับหนึ่งในรูปพรรคการเมืองใหม่อีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากกรณีการจัดตั้งพรรคเพื่อ
ไทย โดยกลุ่ม ส.ส. ของอดีตพรรคพลังประชาชนและอดีตพรรคไทยรักไทย โดยลำดับ
ที่หลุดรอดจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะมิได้เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง
หรือการจัดตั้งพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งสืบทอดต่อจากพรรคชาติไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ใหม่ในระบบการเมืองไทยก็คือ ผู้มีอำนาจตัวจริง
ทั้งหลายทั้งในการบริหารประเทศและในการบริหารพรรคการเมืองดูประหนึ่งว่าจะ
24
พึงพอใจกับการบงการ “นอมินี” อยู่หลังฉาก เพราะมีความเสี่ยงให้ต้องรับผิดทาง
กฎหมายน้อยกว่าการสวมหมวกว่าราชการด้วยตนเอง ในมิติการบริหารประเทศ
24 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องปรึกษากิจการสำคัญๆ ของ
รัฐบาลกับนายเนวิน ชิดชอบ และนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเข้าใจกันว่า เป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงของพรรคภูมิใจ
ไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา โดยลำดับ เช่น เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 นายอภิสิทธ์ นัดทานข้าวกับนายเนวิน
ที่บ้านพิษณุโลก โปรดดู มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552.