Page 6 - kpi15476
P. 6

คำนำ





                                  “ธรรมราชา” หรือพระมหากษัตริย์ผู้ทำให้ประชาชนสุขใจโดยธรรม
                            เน้นปกครองโดยอาศัย “ธรรมะ” หรือความดีใน 3 ระดับ คือ ประการแรก
                            พระมหากษัตริย์และผู้ปกครองต้องประพฤติธรรม อาทิ ทศพิธราชธรรม ฯลฯ

                            ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ต้องชักนำให้ราษฎรประพฤติธรรม และประการ
                            ที่สาม การเอาชนะประเทศต่างๆ ต้องชนะด้วย “ธรรม” หรือ “ธรรมวิชัย”

                            ไม่ใช่ชนะด้วยอาวุธ หรือ “ยุทธวิชัย” ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยก็ได้ยึดและเป็น
                            หลักธรรมาภิบาลในการปกครองประเทศมาตั้งแต่สุโขทัยจนถึงปัจจุบัน


                                  คติธรรมราชาของพระพุทธศาสนานี้ อาจเทียบเคียงได้กับคติราชาปราชญ์
                            ในอุดมคติของตะวันตก ซึ่งเพลโตได้อธิบายว่าเป็น “ผู้ปกครองซึ่งใช้ความรู้

                            ในการปกครองด้วยความเป็นธรรม” ราชาปราชญ์จึงเป็นการปกครองโดยผู้ที่มี
                            ความรู้ความสามารถและมีคุณธรรม อย่างไรก็ตามคติธรรมราชาและคุณธรรม

                            ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ในตะวันตกย่อมมีความแตกต่างกับ
                            พระมหากษัตริย์ในประเทศตะวันออกไปตามสภาพบริบทของสังคม แต่ที่เป็นจุด
                            ร่วมกันคือ “การปกครองเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร”


                                  ในวโรกาสที่จะครบรอบ 120 ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จ
                            พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และได้รับยกย่องให้

                            ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และ
                            วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สถาบันพระปกเกล้าจึงจะจัดประชุม

                            วิชาการสถาบันครั้งที่ 15 (KPI Congress XV) โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้
                            ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันกำหนดและส่งเสริมคุณธรรมสำหรับ
                            ผู้ปกครองและผู้นำที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมต่อไป
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11