Page 136 - kpi17968
P. 136
125
เหตุการณ์นั้นก็ได้ผ่านพ้นบนความไม่ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญไทยในอนาคตจะเป็น
อย่างไร
ประเด็นที่สอง ความสัมพันธ์ของหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยเป็น
อย่างไร ผมคิดว่าทั้งหลักนิติธรรมกับหลักประชาธิปไตยนั้นมีความเชื่อมโยงกัน
อย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับประชาชน
กล่าวคือ หลักประชาธิปไตยมีรากฐานมาจากประชาชน โดยการใช้อำนาจรัฐต้อง
เชื่อมโยงมาสู่ประชาชน ดังนี้ จะเห็นได้ว่าหลักประชาธิปไตยเป็นวิธีการหนึ่งของ
การเข้าสู่อำนาจรัฐ และหลักนิติธรรมก็เชื่อมโยงประชาชนในฐานะที่หลักนิติธรรม
มีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน
2. หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กันในแง่ของการ
จัดการองค์กรของรัฐ หลักประชาธิปไตยเรียกร้องว่าองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลาย
ต้องมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่าย
บริหาร ส่วนฝ่ายตุลาการจะเข้มข้นแค่ไหนขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละองค์กร
ส่วนหลักนิติรัฐเรียกร้องว่าจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ และแต่ละอำนาจสามารถ
ควบคุมตรวจสอบกันได้ เพราะฉะนั้นในแง่ของการจัดองค์กร หลักนิติรัฐเรียกร้อง
หลักการแบ่งแยกอำนาจ
3. ความสัมพันธ์ที่แสดงผ่านศูนย์กลางของอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ
หลักประชาธิปไตยนั้นนำไปสู่ความชอบธรรมขององค์กรนิติบัญญัติในการที่จะตรา
กฎหมาย ในการที่จะจำกัดสิทธิประชาชน องค์กรนี้มีความชอบธรรมมากที่สุด
เพราะเชื่อมโยงกับประชาชน ซึ่งหลักนิติธรรมเรียกร้องว่าการตรากฎหมายของ
องค์กรนิติบัญญัติจะต้องอยู่ภายใต้หลักความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ กล่าวโดย
สรุปคือ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจตรากฎหมายจำกัดสิทธิของประชาชนแต่ต้องอยู่
ภายใต้หลักความถูกต้องของกฎหมาย
4. ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย
หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยต้องถือว่าเป็นหลักในระดับของรัฐธรรมนูญ
ทั้งสองขั้ว
การอภิปรายแสดงทัศนะ