Page 167 - kpi17968
P. 167
156
ศาลสิ่งแวดล้อม เพราะความขัดแย้งในเรื่องโครงสร้างในระบบกฎหมายและ
รัฐธรรมนูญยังไม่ถูกคลี่คลายไป ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่นำไปสู่ข้อพิพาทต่างๆ
ทวีคูณมากขึ้น
แนวคิดการพัฒนาในกระบวนการนโยบายสาธารณะที่เชื่อมโยงกับการ
ตอบโจทย์เรื่องการสร้างความเป็นธรรม
เมื่อทบทวนเอกสารของ UN ที่มีการเตรียมวาระการพัฒนาหลังปี
2015 ซึ่งเป็นช่วงที่เรากำหนดเรื่อง millennium development goals และออกมา
เป็น sustainable development goals เอกสารของ UN กล่าวถึงหลักนิติธรรม
ทั้งในเชิงที่เป็นเครื่องมือและเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในเอกสาร
กล่าวถึงประเด็นสำคัญว่า การพัฒนาที่ขาดหลักนิติธรรมจะนำไปสู่ความขัดแย้ง
ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทางสังคม นี่คือวาระการพัฒนาในระดับ
สากล ที่ท่านนายกไปเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และได้นำเรื่องนี้เข้ามา
สู่ความตื่นตัวอีกครั้ง
ภายใต้แนวคิดกระบวนทัศน์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ผ่านมา ยังเป็น
ปมปัญหาที่เราต้องทำความเข้าใจ โดยทำนโยบายให้ชัดเจนมากขึ้นในการวาง
กระบวนการนโยบายสาธารณะ ปัญหานี้ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยแต่ยังเป็นปัญหา
ในเวทีระดับโลก ผมไปร่วมเวที Rio+ twenty ปี 2012 ตอนที่เราหยิบเรื่องนี้
มาคุยกันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในปี 1992 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการ
พัฒนาที่ยั่งยืนครั้งแรก ที่ Rio de Janeiro กลายเป็นแนวคิดที่ขานรับไปทั่วโลก
แนวคิดหลัก คือ ความพยายามให้เสาหลักของการพัฒนา ทั้ง 3 มิติ คือ
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยืน สัญลักษณ์ที่สะท้อนภายใต้
แนวคิดนี้คือ 3 วงกลมที่มีส่วนเหลื่อมซ้อนกัน รูปธรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น
ปัญหาโลกร้อน เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายใต้หลักการดังกล่าว ซึ่งหากเราพัฒนาตามแนวคิดนี้จริงเราก็คงแก้ปัญหา
โลกร้อนได้ เพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับบรรยากาศโลกที่มีการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกมาก จึงนำมาสู่โจทย์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าควรจะวางหลักการจากเดิม
อย่างไร และการพัฒนาควรมองภายใต้ขีดจำกัดของระบบนิเวศน์อย่างแท้จริง
หรือไม่ ลองปรับรูปวงกลม มองกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้
การประชุมกลุมยอยที่ 1