Page 248 - kpi17968
P. 248

237




                   มีแนวโน้มสืบทอดอำนาจ หรือผูกขาดอำนาจ หรือใช้อำนาจเพื่อแสวงหา

                   ผลประโยชน์มากจนเกินไป ชนชั้นกลางก็จะหันไปพึ่งพระบารมีพระมหากษัตริย์ใน
                   การแก้ไขปัญหา


                         ในช่วงปลายทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา เมื่อกลุ่มทุนใหญ่เถลิงอำนาจ
                   มวลชนที่สมาทานอุดมการณ์ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                   ประมุข” ก็หวังพึ่ง “อำนาจการเมือง” ของพระมหากษัตริย์ ศาล (ตุลาการ

                   ภิวัตน์) และกองทัพ เพื่อขจัดอำนาจและอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และ
                   วัฒนธรรมของนักการเมืองที่พวกเขาเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ดังจะเห็นได้

                   ชัดเจนว่าเมื่อ “คนเสื้อเหลือง” เห็นว่า “การเมืองถึงทางตัน” ก็พร้อมที่จะยอมรับ
                                                      17
                   การใช้อำนาจทางการเมืองของตุลาการ  และการใช้อำนาจของกองทัพในการ
                   รัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ  ทั้งๆ ที่เป็นวิถีทางที่ขัดแย้งกับการยึดหลัก
                                               18
                   นิติธรรมอย่างยิ่ง “คนเสื้อเหลือง” เหล่านี้ไม่ได้มุ่งมั่นต่อสู้ตามครรลองของระบอบ

                   ประชาธิปไตยที่จะต้องให้ความสำคัญทั้งการเลือกตั้งและการตรวจสอบการใช้
                   อำนาจรัฐ ซึ่งแม้ว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่กินเวลายาวนานกว่า แต่ก็จะช่วยรักษา
                   ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมเอาไว้


                         สำหรับชนชั้นกลางระดับล่างซึ่งเรียกกันว่า “คนเสื้อแดง” นั้น ดิ้นรนออก

                   จากความเสียเปรียบและความเหลื่อมล้ำของสิทธิและอำนาจ โดยอาศัยจำนวนคน
                   ที่มากกว่า จึงโน้มเอียงเข้าหาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่คือประชาธิปไตยที่


                      17   ชัยอนันต์ สมุทวณิช, “จะเกิดอะไรขึ้นในเดือนกรกฎาคม” โดยเขียนไว้เมื่อวันที่ 4
                   มิถุนายน พ.ศ.2549 ว่า “การที่สถาบันศาลต้องเข้ามาจัดการปัญหาทางการเมือง เพราะเป็น
                   สถาบันหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แสดงว่าการเมืองไทยพบทางตันจริงๆ” (ชัยอนันต์ สมุทวณิช,
                   “จะเกิดอะไรขึ้นในเดือนกรกฎาคม”, (4 มิถุนายน 2549), สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558,
                   จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000073233.)
                      18   ชัยอนันต์ สมุทวณิช, “วันรัฐประหารหรือวันเด็กกันแน่” โดยเขียนไว้เมื่อวันที่ 24
                   กันยายน พ.ศ.2549 ว่า “รัฐประหารครั้งนี้ คนส่วนใหญ่โล่งอก...บ้านเมืองจะวิบัติเกิดกลียุค
                   หลายคนจึงโล่งใจที่ทหารชิงทำเสียก่อน...” (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, “วันรัฐประหารหรือวันเด็ก
                   กันแน่”, (24 กันยายน พ.ศ.2549), สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://
                   www.manager. co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=94900001119858). และ “เราหมด
                   หนทางที่จะอาศัยกระบวนการทางการเมืองปกติเปลี่ยนตัวผู้นำ จึงเกิดรัฐประหาร”





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253