Page 267 - kpi17968
P. 267
256
ยังได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และฉบับ พ.ศ.2550 และ
ในบางกรณียังมีการดึงเอาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้ามาร่วมรับรู้ปัญหาและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ
44
ตนด้วย
จะเห็นได้ว่าในทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา มีการต่อสู้ของขบวนการคนจน
และคนด้อยอำนาจในสังคมไทยจำนวนมาก เช่น “สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาค
อีสาน” “เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ” “สมัชชาคนจน” “เครือข่ายหนี้สิน
ชาวนาแห่งประเทศไทย” “เครือข่ายสลัม 4 ภาค” “คณะกรรมการสมานฉันท์
แรงงานไทย” ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดผลสะเทือนทางการเมืองและสังคมอย่างมาก
เพราะเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบายที่เกี่ยวข้อง
กับวิถีชีวิตของพวกเขาโดยตรง เป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองของคนจนและ
คนด้อยอำนาจในระบบการเมืองที่เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น นับเป็น
การเคลื่อนไหวที่มีพลังเนื่องจากเกิดขึ้นในรูปของเครือข่ายความร่วมมือ โดยแต่ละ
กลุ่มต่างก็ได้รับอิทธิพลจากซึ่งกันและกันเนื่องจากได้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวของ
กลุ่มอื่นๆ และยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันท่ามกลางโอกาสที่สังคมเปิดให้แก่
การเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น 45
ในด้านทัศนคติใหม่ของคนในสังคม ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการ
โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เนืองๆ ว่า “ไม่เป็นประชาธิปไตย” หรือ “ต้องการผูกขาด
44 โปรดดู ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบใหม่และ
นัยยะเชิงทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย”, อนุชาติ พวงสำลี และคณะ “ขบวนการประชา
สังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง”, เอนก เหล่าธรรมทัศน์. “ส่วนรวมที่มิใช่รัฐ: ความ
หมายของประชาสังคม” ใน อนุชาติ พวงสำลีและ กฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ),
ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง, นครปฐม : โครงการวิจัยและ
พัฒนาประชาสังคม, 2542 และ ทศพล สมพงษ์, พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม,
กรุงเทพฯ: สำนักงาน สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
45 เอกพล เสียงดัง, “ผลสะเทือนจากการต่อสู้ของขบวนการคนจนและคนด้อยอำนาจใน
สังคมไทย ตั้งแต่ปี 2531-2549” ใน บุญเลิศ วิเศษปรีชา (บก.), รวมบทความที่ได้รับรางวัล
วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ สำหรับวิทยานิพนธ์เพื่อคนจน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2552,
หน้า 90-132.
การประชุมกลุมยอยที่ 2