Page 281 - kpi17968
P. 281
270
รัฐบาลจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนต่อ
รายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.
2550 เป็นต้นไป (มิใช่ร้อยละ 35 ตามพระราชบัญญัติเดิม)
การกระจายอำนาจพร้อมกับกระจายงบประมาณ จะเป็นหนทางหนึ่งใน
64
การแก้ปัญหาเรื่องการใช้หลักนิติธรรม เพราะเมื่อส่วนกลางมีอำนาจและ
ทรัพยากรน้อยลง การเข้ามายึดอำนาจรัฐเพื่อแสวงหา ผลประโยชน์ของกลุ่มทุน
ใหญ่ก็จะลดน้อยลงไป ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิและอำนาจในการจัดการตัวเอง
เพิ่มขึ้น อันทำให้การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรัฐลดน้อยลงตาม
ไปด้วย และการที่อำนาจและงบประมาณอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งใกล้
ชิดกับประชาชนก็จะส่งผลให้ประชาชนสามารถกำกับตรวจสอบและมีอำนาจต่อ
รองกับผู้มีอำนาจในท้องถิ่นได้มาก ต่างจากการรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง
ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสกำกับตรวจสอบหรือต่อรองกับผู้กุมอำนาจรัฐ
และยังทำให้ประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพารัฐสูงจนกระทั่งยอมรับนโยบายประชานิยม
ที่ปราศจากความมั่นคงทั้งในระดับปัจเจกชนและยังมีความเสี่ยงทางการคลัง
ในระดับประเทศ นอกจากนี้อำนาจในการจัดการตนเองในด้านต่างๆ รวมทั้ง
การจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น อาจเอื้ออำนวยต่อการสร้าง “สังคมสวัสดิการ”
ในระดับท้องถิ่นมากขึ้น เช่น การดูแลและให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กซึ่งจะลด
รายจ่ายจากการส่งบุตรหลานมาเรียนในตัวเมืองและช่วยให้ครอบครัวอบอุ่นขึ้น
การดูแลคนชราทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม และการพัฒนาศักยภาพและ
ความมั่นคงในการประกอบอาชีพด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น
อภิชาต สถิตนิรามัย ได้แสดงทัศนะว่า “ข้อเสนอ...คือ ยกเลิกระบบ
ราชการส่วนภูมิภาคทิ้งไปเลย ให้มีเฉพาะรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลกลาง...แล้วก็
บังคับการกระจายงบประมาณรายได้ของรัฐให้ออกไปเพิ่มขึ้นจากที่ทักษิณเหยียบ
ไว้ 25% ให้ไป 30-40 %...นี้มีความเป็นไปได้ทางการเงิน เพราะมีผู้ต้องการ
นโยบายอันนี้อยู่ในระดับขอบเขตทั่วประเทศ” ข้อเสนอดังกล่าวนี้สอดคล้องกับ
65
64 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 2 ก, พ.ศ.2550, หน้า 2.
65 อภิชาต สถิตนิรามัย, “เศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้นโยบายประชานิยม” ใน แสงสว่าง
กลางอุโมงค์: หลากหลายความคิดวิเคราะห์อนาคตสังคมการ, (อ้างแล้ว), หน้า 93.
การประชุมกลุมยอยที่ 2