Page 33 - kpi19910
P. 33
23
10. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร
11. นักการเมือง
12. ชมรมธนาคารจังหวัดชุมพร
13. ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน
ระยะเวลา : มากกว่า 10 ปี (พ.ศ. 2546 – 2561)
สถานะ : อยู่ระหว่างด าเนินการแก้ไข
พลวัต:
ชาวบ้านเดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และ
ท าเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนท่าแซะ แต่ถูกทหารจากค่ายเขตอุดมศักดิ์ มณฑลทหารบก
ที่ 44 ควบคุมตัวไปไว้ที่ค่ายทหาร และมีการคัดค้านการสร้างเขื่อนท่าแซะมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง
ปี 2560 เริ่มการเคลื่อนไหวคัดค้านรวมกลุ่มประท้วง และยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหลังจาก
โครงการถูกระงับมากว่า 10 ปี
ระดับความรุนแรง : ไม่มีความเสียหายต่อทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิต
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
1. การเคลื่อนไหวด้วยการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานต่าง ๆ เป็นการยื่นหนังสือคัดค้านการ
สร้างเขื่อนและหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรอิสระต่าง ๆ
2. การเคลื่อนไหวด้วยการชุมนุมของมวลชนเป็นการเคลื่อนไหวของกลุมอนุรักษ์ ต้นน้ า
ท่าแซะเพื่อแสดงออกถึงปัญหาการสร้างเขื่อนท่าแซะและไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน
ปัจจัยที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ
1. การมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. สิทธิชุมชนเพื่อไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน
ผลกระทบที่เกิดขึ้น :
ชาวบ้านถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่มาของข้อมูล :
1. สัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่
2. ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ "เขื่อนท่าแซะ" กับเหตุผลที่ชาวบ้านไม่ต้องการ” เมื่อวันที่ 14
สิงหาคม 2561 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/STCC/2009/08/08/entry-1
3. ส านักข่าวชายขอบ “เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ าภาคเหนือ ร่วมแสดงจุดยืนค้านเขื่อนท่า
แซะ พร้อมจี้รัฐหยุดคุกคามประชาชน” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 จาก
http://transbordernews.in.th/home/?p=16199