Page 279 - kpi20858
P. 279
236
ธรรมโกษาจารย์ ให้เขียนภาพประดับผนังพระอุโบสถวัดสามแก้วแห่งนี้ นอกเหนือจากการรับช่วย
พระธรรมโกษาจารย์ พระสงฆ์ที่ท่านศรัทธาแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างภาพจิตรกรรมแห่งนี้
เพื่อเป็นพุทธบูชา และอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 อีกประการหนึ่งด้วย ดังที่ปรากฏข้อความที่ผนังด้านหลังพระประธานในอุโบสถ (ดูภาพ
ที่ 4)
การสร้างงานจิตรกรรมที่วัดแห่งนี้ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ต้องทุ่มเทก าลัง ให้ความวิริยะ
อุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยระยะทางจากพระนคร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของท่าน กับวัดสามแก้ว
จังหวัดชุมพรนั้นห่างไกลกันเป็นอย่างมาก ประกอบกับในขณะนั้นยานพาหนะและเส้นทางการ
คมนาคมมิได้สะดวกสบาย อีกทั้งท่านมิได้เขียนภาพโดยตลอด เพราะมีกิจธุระจ าเป็นที่ต้องเดินทาง
ไปมาระหว่างพระนครและชุมพร อย่างไรก็ตามจากพลังความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความ
ส านึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น ท าให้
พระยาอนุศาสน์ จิตรกร เพียรสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังจนส าเร็จลงได้ในเดือนสิงหาคม ปี
พ.ศ.2473 ซึ่งใช้เวลาในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถแห่งนี้ราว 2 ปี 8 เดือน ขณะที่
พระยาอนุศาสน์ จิตรกร เริ่มเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดแห่งนี้ ท่านมีอายุราว 57 ปี และแล้ว
เสร็จเมื่อท่านมีอายุราว 59 ปี
พระยาอนุศาสน์ จิตรกรเป็นผู้มากความสามารถ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลาย
ประเภท อาทิ การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนฉากละคร (ถวายรัชกาลที่ 6) การถ่ายภาพ
งานหัตถกรรมประเภทเครื่องมุก งานแทงหยวก ตลอดจนการประพันธ์วรรณกรรม ทั้งนี้ผลงาน
จิตรกรรมของท่านทั้งหมด สะท้อนให้เห็นรสนิยมความชื่นชมในแนวทางการแสดงออกแบบศิลปะ
ตะวันตก ซึ่งท่านมิเคยได้ศึกษาเล่าเรียนจากสถาบันใด หากแต่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมั่น
ฝึกฝนและถ่ายทอดผลงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์
พระอุโบสถ วัดสามแก้ว ถือเป็นศาสนสถานส าคัญของไทย ซึ่งควบรวมภาพจิตรกรรมตาม
คติพุทธและคติพราหมณ์-ฮินดูเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการน าเสนอนิทานอีสป ซึ่งเป็น
วรรณกรรมตะวันตกรวมอยู่ด้วย การวิเคราะห์จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดสามแก้วแห่งนี้
สามารถแบ่งเนื้อหาเรื่องราว ออกเป็น 3 ตอน คือ ผนังตอนบน ผนังตอนกลาง และผนังตอนล่าง ดัง
ปรากฏตามแผนผังที่ 1