Page 352 - kpi20858
P. 352
310
รูปทรง การวิเคราะห์
รูปทรงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวน าเสนอ
อย่างถูกต้อง แสดงความสมจริงด้วยสัดส่วนและ
กล้ามเนื้อ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ คือ ฉลอง
พระองค์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งน าเสนอได้อย่าง
เหมือนจริง โดยสันนิษฐานว่า ภาพพระบรม
สาทิสลักษณ์นี้อาจเขียนขึ้นโดยมีภาพพระบรมฉายา
ลักษณ์เป็นต้นแบบ
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
มีการน าเสนอมุมมองภาพในระดับสายตาแบบปกติ
จากภาพมีเพียงระยะหน้าคือ พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และระยะหลังคือพื้นภาพ การ
จัดท่าทางให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเบือนพระพักตร์ ทอดพระเนตรออกไปที่เบื้องขวา
ของภาพนั้น ก่อให้เกิดการก าหนดสร้างทิศทางในการ
มองภาพของผู้ชมร่วมด้วย ส่งเสริมความลึกสร้างมิติ
ในความรู้สึกของผู้ชมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ที่พระ
อังสาขวาของพระองค์บิดเอียงเข้าไปด้านในของภาพ
เล็กน้อย ก่อให้เกิดความลึกขึ้นในภาพอีกด้วย
สีและแสง-เงา การวิเคราะห์
จากภาพ มีการใช้ค่าน ้าหนักของสีสีเดียวคือสีด า
ก าหนดค่าแสงและเงา โดยสร้างให้แสงส่องเข้ามา
ทางด้านซ้ายของภาพ ปะทะกับผิวพระพักตร์ และ
ฉลองพระองค์จนเกิดเป็นแสงและเงาอันจัดจ้า จาก
คุณสมบัติของสีที่สร้างเป็นแสงเงานี้ได้ก่อให้เกิด
ปริมาตรแก่รูปทรงอย่างสมจริง
ตารางที่ 23 การวิเคราะห์รูปแบบ ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลของ เทียม จิตรสาสตร์
ที่มา: ผู้วิจัย