Page 4 - kpi20858
P. 4

ปวีณา สุธีรางกูร: ศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 402 หน้า

                       ค าส าคัญ: ศิลปกรรม, จิตรกรรม, ประติมากรรม, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว






                                                            บทคัดย่อ


                              ผลงานศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีความส าคัญเชิง

                       ประวัติศาสตร์  เป็นภาพสะท้อนค่านิยมเชิงสุนทรียะแห่งยุค  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                       รวบรวมผลงาน  ตลอดจนวิเคราะห์ภูมิหลังและรูปแบบของผลงานศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาท

                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยศึกษาจากผลงานจิตรกรรมและ

                       ประติมากรรมของศิลปินไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก  ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างปี  พ.ศ.2468-

                       2477  ประกอบกับศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร  และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
                       เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า

                              1. ผลงานศิลปกรรมที่ได้ท าการรวบรวมประกอบด้วย  จิตรกรรมฝาผนัง  จิตรกรรมภาพ

                       เหมือนบุคคล จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ ภาพลายเส้นและภาพประกอบ ด้านประติมากรรม ประกอบ

                       ด้วยอนุสาวรีย์ ประติมากรรมรูปเหมือนบุคคล และเหรียญ
                              2. ศิลปกรรมส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก โดยมีผลงาน

                       ส่วนตัวของศิลปินเป็นส่วนน้อย ศิลปกรรมในสมัยนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของศิลปะตะวันตก แบ่งออก

                       เป็น  2  ลักษณะคือ  ศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก  และศิลปกรรมแบบตะวันตก  ผลงานทุกรายการ

                       ผสานความเหมือนจริงทั้งในด้านกายวิภาค  ทัศนียวิทยา  และการลงสี  แสง-เงา  ทว่ามีอิทธิพล

                       ดังกล่าวในสัดส่วนที่แตกต่างกัน  รูปแบบหลักของผลงานศิลปกรรมในรัชกาลที่  7  นี้ยังคงสืบทอด
                       แนวทางจากรัชกาลที่  6  โดยแสดงความเหมือนจริงผสานความงามเชิงอุดมคติอันสูงส่งของพระ

                       มหากษัตริย์  อย่างไรก็ตามภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ในปี  พ.ศ.2475  ทั้งรูปแบบ

                       และการสื่อนัยความหมายของศิลปกรรม  ได้เปลี่ยนไปสู่ความเหมือนจริงที่แสดงความสามัญมาก

                       ยิ่งขึ้น










                                                                ค
   1   2   3   4   5   6   7   8   9