Page 2 - kpi20863
P. 2
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง พัฒนาการสถาปัตยกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468
- พ.ศ. 2477) มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์งานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมี
วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ศึกษาพัฒนาการในรูปแบบสถาปัตยกรรม วัสดุโครงสร้าง เทคนิควิทยาการ
ก่อสร้าง ตลอดจนแนวความคิดในการออกแบบของอาคารส าคัญๆ ที่สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัย (2) ศึกษา
พัฒนาการในการประกอบวิชาชีพสถาปนิก ตลอดจนบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง
ในช่วงเวลาเดียวกัน และ (3) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับบริบทด้านต่างๆ เพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 7 ทั้งนี้การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์
สถาปัตยกรรม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ ภาพถ่าย แผนที่ แบบสถาปัตยกรรม และตัว
อาคารที่ยังคงเหลืออยู่ให้ศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์แบบพรรณาวิเคราะห์ ให้เห็นความ
เปลี่ยนแปลงขึ้นในสถาปัตยกรรมไทยในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งพัฒนาการวิชาชีพสถาปัตยกรรม แนวความคิดใน
การออกกฎหมายควบคุมอาคารและการวางผังเมือง พัฒนาการในเทคนิควิทยาการก่อสร้าง ตลอดจนรูปแบบ
สถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ ทั้งอาคารสาธารณะ อาคารพักอาศัย และศาสนสถาน ที่สะท้อนถึงบริบทของ
สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะชีวิตเมืองสมัยใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้า
สู่สมัยใหม่ (Modernization) ของสยาม
ผลการศึกษาพบว่าสถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อาคารที่
ส าคัญส่วนใหญ่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายลงกว่าสถาปัตยกรรมในรัชกาลก่อนด้วยสาเหตุสองประการ
คือ (1) ความนิยมในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) รูปแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) และ
รูปแบบคลาสสิคลดทอน (Stripped Classicism) และ (2) หน้าที่ใช้สอยของอาคารสมัยใหม่ อาคารเพื่อการ
สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนอาคารอุตสาหกรรม ที่แสดงออกผ่านสถาปัตยกรรมที่เน้นสัจจะของ
โครงสร้างและวัสดุ ส่วนปัญหาเศรษฐกิจตกต่ าทั่วโลกนั้นอาจส่งผลกระทบบ้าง ในระดับที่นับได้ว่าน้อย เพราะ
ทั้งรัฐบาลและเอกชนยังคงลงทุนสร้างอาคารอย่างต่อเนื่องตลอดรัชสมัย
ส าหรับพัฒนาการในการประกอบวิชาชีพสถาปนิก ผลการศึกษาพบว่าช่วงรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงหัว
เลี้ยวหัวต่อที่ช่างฝรั่งค่อยๆ ลดบทบาทลงตามล าดับ โดยมีสถาปนิกชาวไทย ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และคน
สามัญ ที่ได้รับการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในทวีปยุโรป เริ่มมีบทบาทแทนที่ โดยที่สามารถออกแบบ
อาคารที่ทันสมัยทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม โครงสร้าง และงานระบบอาคาร ท างานควบคู่ไปกับสถาปนิกชาว
สวิส อังกฤษ และอิตาเลียน ที่ยังคงมีบทบาทในวงการก่อสร้างในสยามอย่างน้อยจนสิ้นรัชกาล “สถาปนิก
สยาม” รุ่นแรกนี้มีบทบาทส าคัญยิ่งในการก่อตัวของวิชาชีพสถาปัตยกรรม ดังปรากฏในการตั้งสมาคมสถาปนิก
สยาม และการสถาปนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย