Page 127 - kpi21078
P. 127
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ต่อ???” หากจะทำการใหญ่ใจต้องนิ่ง คำพูดนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องจริง
เพราะเป้าหมายการสร้างเครือข่ายครั้งนี้ไม่ใช่แค่ “1 ตำบลขยับ 1 อำเภอ
เข้าร่วม 1 หน่วยงานแก้ไข” แต่นั้นหมายความว่าพลเมืองทุกคนใน
จังหวัดเชียงรายมีส่วนร่วมจริง ๆ แม้จะไม่ได้ค่าตอบแทนที่เป็นทรัพย์สิน
เงินทอง หากแต่ผลตอบแทนที่ได้กลับมามีค่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทอง
นอกกายทั้งสิ้น ความร่วมมือที่เกิดจากเครือข่ายจึงมีทั้งจิตอาสา
นักวิชาการ กลุ่มงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชนคนเชียงราย
ที่สนใจและสำนึกรักบ้านเกิดจริง ๆ
เมื่อมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่มีใครแก้ไขได้ดีเท่าคน
เชียงรายเอง โมเดลการสร้างยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงราย ตามแนวคิด
การสร้างเครือข่ายจึงเริ่มก่อตัวขึ้น จากพื้นฐานของปัญหาที่ถูกมองข้ามมา
ตลอด ทำให้ภาครัฐตระหนักถึงหน้าที่ตนเองมากขึ้นมาร่วมกันคิดและ
กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้ในที่สุด เมื่อเป็นยุทธศาสตร์จังหวัด
ปัญหาต่าง ๆ มักจะได้รับการแก้ไขเสมอ โดยขยายยุทธศาสตร์ลงท้องถิ่น
(แถวบ้านเรียกสั่งการ) ทำให้ท้องถิ่น พื้นที่ตระหนักถึงปัญหาชุมชนมากขึ้น
หากจะยกตัวอย่างทั้งจังหวัดคงจะมีรายละเอียดที่มากเกินไป แต่ประเด็นที่
ประสบผลสำเร็จจริง ๆ จากความร่วมมือของเครือข่ายคงจะหนีไม่พ้น
เครือข่ายของกลุ่มเยาวชน คนไฟแรง เป็นแน่แท้…
ผศ.วรสฤษฎิ์ ปิงเมือง ในฐานะประธานศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ได้กล่าวไว้ว่า…
“...โครงการมัดปุ๊กเจียงฮาย… หนึ่งในโครงการที่สร้างเครือข่าย
เยาวชน ทั้ง 18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย ที่อยากจะให้เยาวชน
ได้ทำงานร่วมกันในพื้นที่ แล้วทำงานร่วมกันระหว่างอำเภอ จนขยายเป็น
รูปแบบการทำงานระดับจังหวัด เมื่อเก่าไป คนใหม่ก็ต้องมา การดำเนินการ
สร้างเครือข่ายเยาวชนนี้เป็นจึงมีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงรุ่นที่ 3 แล้ว
11 สถาบันพระปกเกล้า