Page 141 - kpi21078
P. 141
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ปัญหาเรื่องราวเหล่านี้ นำไปสู่กระบวนการดำเนินการการแก้ไข โดย
การบรรจุเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด นำเสนอต่อท่านผู้ว่าราชการ
จังหวัด เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งหมด และได้สั่งการให้มีการตั้ง
คณะติดตามนโยบายด้วย…ด้วยเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาอย่าง
แท้จริง การจัดทำโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนจึงเกิดขึ้น ภายใต้
เงื่อนไขเพียงเพื่อติดตามความก้าวหน้าของแผนในระดับตำบลและอำเภอ
โดยเริ่มจากอำเภอบางปลาม้าและอำเภอสามชุกก่อนเป็นพื้นที่นำร่องและ
จะขยายโครงการนี้ไปสู่อำเภออื่น ๆ ต่อไป...
ข้อคิดสะกิดจุด
อาจารย์วิภาศศิ ช้างทอง ในฐานะประธานศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้กล่าวไว้ใน
การสัมภาษณ์รายการวิทยุรัฐสภา เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 63 ว่า…
“การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานในทุก ๆ เรื่อง
ถ้าหากว่าหน่วยทุกหน่วยทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดด้วยการที่ให้
ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอถึงปัญหาและปฏิบัติงานไปด้วยกัน
งานทุกงานก็สามารถบรรลุเป้าหมายไปด้วยกันได้ เพราะจริง ๆ แล้ว
ประชาชนก็อยากจะให้ปัญหานั้นหมดไปถ้าหน่วยงานไหนสืบทราบปัญหา
อะไรแล้วเรามาร่วมมือกันที่จะแก้ปัญหาไปด้วยกันและเชื่อว่าทุก ๆ พื้นที่
ก็จะประสบความสำเร็จและมีผลงานที่เป็นของตนเองได้ ประชาชนหวังเพียง
แค่จะสามารถแก้ไขปัญหาไปเท่านั้น พวกเขาต้องการแค่นั้นเองจริง ๆ
จากใจ และการทำงานทุก ๆ พื้นที่ก็จะประสบความสุข มีความเข้มแข็ง
โดยพลังของประชาชนร่วมกับการร่วมมือของหน่วยงานในการหนุนเสริม
และสนับสนุนการดำเนินงานเพียงแค่นี้ก็เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแล้วก็
อยากจะให้ทุกจังหวัดได้ทำแบบนี้ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีทั้งของชาวบ้านและ
หน่วยงานด้วยเช่นกัน”
1 0 สถาบันพระปกเกล้า