Page 21 - kpi21078
P. 21
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถ
มีกรอบหรือวิธีการในการจัดการตนเองในการอยู่ร่วมกัน
ในชุมชน จนเกิดการเปลี่ยนในตนเองที่สามารถคิดวิเคราะห์
ปัญหาในชุมชนได้ สามารถสื่อสารกับผู้อำนาจให้รับทราบ
ปัญหาได้เท่านั้น หากแต่เบื้องหลังลึก ๆ ของการลงมือทำ
ในครั้งนี้ ขาดความต่อเนื่อง ความสม่ำเสมอ ก็คงจะไม่เกิด
ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นแน่แท้... (พูดคุย ประสานงาน
ทบทวน และทำซ้ำ ๆ) นี้คืออีกเทคนิคง่าย ๆ ที่ต้องอาศัย
การลงมือทำด้วยตัวเองเช่นกันหรือแม้กระทั่งการใช้กลไกของ
การเปิดพื้นที่เป็นที่เรียกว่า “โรงเรียนพลเมือง” ให้เป็น
ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จนสามารถผลักดันเป็น
นโยบายสาธารณะระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด
ได้สำเร็จ ซึ่งล้วนแต่เป็นหลักการทำทั้งสิ้นของศูนย์พัฒนา
การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า
3) หลักใจ... คือ “การเปิดใจเข้าหากันและกัน” “ใจมา ขาไป”
หรือ “ใจแลกใจ” เป็นคำฮิตติดปากผู้เริ่มต้นกระทำสิ่งใหม่ที่ดี
ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การลงมือทำสิ่งใดให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
“กำลังใจ” ย่อมเป็นสิ่งสำคัญให้เราก้าวต่อไป “ไม่มีสิ่งใดอยู่สูง
กว่าพยายาม” วิธีการ “ใจแลกใจ” จึงเป็นหลักใจหนึ่งประการ
ที่ทำให้การดำเนินการของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็น
เรื่องยาก หากแต่กำลังใจที่ให้กันไม่สิ้นสุดการทำงานก็จะไม่มี
วันหยุดตามด้วย ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้าย
ที่ทำลายความตั้งใจแรก แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้เกิด
ความภูมิใจใหม่ การเปิดใจเข้าหากันและกัน ระหว่าง
กรรมการศูนย์ ชาวบ้าน ประชาชน หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดนั้น
10 สถาบันพระปกเกล้า