Page 34 - kpi21078
P. 34
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
จึงเป็นเรื่องสำคัญในลำดับแรกของการจัดทำแผน จึงเริ่มสร้างเครือข่ายให้
มีคุณภาพที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันนี้มีเครือข่ายที่ก่อตั้งเป็น “สภา
พลเมือง” ในจังหวัดที่มากกว่า 1,000 คน และเครือข่ายหน่วยงานมาก
กว่า 50 เครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง (หากใครเข้ามาหวังผลประโยชน์มักจะอยู่
ไม่ได้และออกไปเอง ด้วยวิธีการทำงานที่ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ และต้อง
ทำงานร่วมกันของสภาพลเมือง)
เพราะความต้องการของคนไม่เหมือนกัน “การได้มาซึ่ง
ปัญหา...จึงไม่ใช่เรื่องง่าย”...การดำเนินการของศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มุ่งหวังให้
เกิดแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย ต้อง
อาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่ต้อง
ช่วยกันนำเสนอประเด็นความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นของตนเอง
ผ่านการวิจัย การเก็บข้อมูล การจัดทำแบบสอบถามเพื่อให้ทราบถึงปัญหา
และความต้องการของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช และนำปัญหา
นั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา
ที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป (ตามที่มุ่งหวัง)...
การจัดเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัดฉบับ
ประชาชนและส่งข้อมูลที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาจังหวัดดังกล่าวแก่
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง (ปัจจุบันกอ.รมน.จังหวัด เห็นความสำคัญมากและเข้าร่วม
ในแผนพัฒนาจังหวัด) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปนั้น จึงเป็นเป้าหมาย
การดำเนินงานในลำดับถัดไปทันทีหลังการรวบรวมประเด็นปัญหาและ
แนวทางการแก้ไข...
การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยวิธี ควบคู่ ทั้งทางด้านนโยบาย
การจัดทำแผนเจ้าเมืองและด้านพื้นที่ (ผ่านการจัดตั้งโรงเรียนพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า