Page 176 - b29259_Fulltext
P. 176
2. โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ
โลกาภิวัตน์ในทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ตลาด สินค้า บริการ
และทุนของประเทศต่าง ๆ ในโลกมีความเชื่อมโยงกัน มีการอำานวย
ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างกัน
ในแง่ของการค้า โลกาภิวัตน์ได้สร้างให้เกิด “ห่วงโซ่การผลิตที่
สลับซับซ้อน (global supply chain)” คือการที่สินค้าที่ผลิตสำาเร็จขึ้นมา
1 ชิ้น แต่มีส่วนประกอบจากหลาย ๆ ประเทศที่ “แบ่งกันผลิตตาม
ความถนัด (specialization)” เช่น รถยนต์ 1 คันที่ผลิตออกมาจาก
ประเทศไทย เป็นแบรนด์ของประเทศญี่ปุ่น สายไฟจากประเทศจีน แบตเตอรี่
จากประเทศเกาหลี วิทยุจากประเทศเวียดนาม ฯลฯ
เพื่อที่จะทำาให้ “ห่วงโซ่การผลิตที่สลับซับซ้อน” นี้เกิดขึ้นได้ รัฐบาล
ของนานาประเทศได้เลือกที่จะใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่น ยกเลิกมาตรการ
ต่าง ๆ ในการกีดกันทางการค้า อันเป็นการลดปราการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษี
และไม่ใช่ภาษี ซึ่งเมื่อผนวกกับการเข้าถึงเงินตราต่างประเทศได้โดยง่ายมาก
ขึ้น การค้าระหว่างประเทศจึงเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น วัสดุจาก
ประเทศต่าง ๆ จึงสามารถเข้ามาประกอบขึ้นเป็นสินค้าในอีกประเทศหนึ่งได้
อย่างรวดเร็ว ราคาถูก โดยระบบการผลิตแบบ “ทันเวลา” (Just in Time)
ควบคู่ไปกับการเปิดเสรีทางการค้า โลกาภิวัตน์ได้กระตุ้นให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในระบบทุนและระบบการเงินของโลกอย่างอย่างที่ไม่เคย
ปรากฎมาก่อน เช่น มีการพัฒนาองค์กรการเงินระหว่างประเทศ การพัฒนา
ตลาดเงิน และตลาดทุน ทำาให้การโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ และระหว่าง
ตลาดประเภทต่าง ๆ สามารถทำาได้อย่างรวดเร็วในอึดใจเดียว กระตุ้นให้เกิด
176