Page 269 - b29259_Fulltext
P. 269
15. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในประเด็นระหว่าง
ประเทศที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ภายใต้กรอบของสหประชาชาติได้มีกลไกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
2 กลไก ได้แก่ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2535 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศนอกภาค
ผนวกที่ 1 (Non-Annex I Countries) ซึ่งเป็นประเทศกำาลังพัฒนาจำานวน
148 ประเทศ โดยมีพันธกรณี คือ การให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ
และมีส่วนร่วมในการดำาเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งในด้านการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบ (Adaptation) และการลด
ก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ตามศักยภาพของประเทศ
ในส่วนของกลไกที่สองได้แก่ พิธีสารเกียวโต พ.ศ. 2540 ต่อท้าย
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พ.ศ. 2535 กำาหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลด
การปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต
แล้วเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545เป็นเรื่องของกลไกการพัฒนาที่สะอาด
ซึ่งเราสามารถเลือกร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ โดยมีสำานักงาน
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักแห่งชาติ (National
Focal Point) ของอนุสัญญาและพิธีสารดังกล่าว
269
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 269