Page 186 - kpiebook62005
P. 186
คุณธงธรรมฤทธิ์ สันต์ทัศน์ธาร (เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ) เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้
เครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าใจกฎหมาย แบบขอข้อมูลข่าวสารต้องลงลายมือชื่อให้ชัดเจน ผู้ที่จะด าเนินการขอข้อมูล
ข่าวสารได้ต้องเป็นผู้ที่ลงลายมือชื่อเท่านั้น และต้องเขียนให้ตรงประเด็นให้เข้ากับข้อกฎหมาย และจากประสบการณ์ที่
ผ่านมา หากไม่ได้รับข้อมูลใน 15 วัน ให้ส่งค าร้องต่อส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เพื่อเข้า
กระบวนการ แต่กระบวนการต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามระยะเวลาที่ก าหนดตามแผนผัง ยังต้องใช้ความสัมพันธ์และ
ประสบการณ์ในการเข้าถึงข้อมูล และภาคประชาสังคมควรใช้กลไกเพื่อให้ทางหน่วยงานรัฐตื่นตัวขึ้น
คุณสุภาภรณ์ มาลัยลอย (มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม : EnLAW) ให้ความเห็นว่าข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพที่ประชาชนต้องการค่อนข้างชัดเจนและมีความซ้ า ในขณะเดียวกันทุกหน่วยงานได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูล เช่น ใน
กรณีกรมโรงงาน ข้อมูลที่ประชาชนต้องการเข้าถึงตั้งแต่ใบค าขออนุญาตตั้งโรงงาน เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
หน่วยงานมีอยู่แล้ว หากมีการจัดท ารายการประเภทต่าง ๆ ว่าการขอต้องมีเอกสารใดบ้างและเมื่อได้รับอนุญาตแล้วมี
เอกสารใดบ้าง โดยระบุว่าข้อมูลใดสามารถเข้าถึงได้ทันที หรือถ้าเป็นเอกสารที่ต้องมีการวินิจฉัยในข้อมูลบริษัทหรือ
ลิขสิทธิ์ ก็ให้ระบุไว้ ว่าให้รอกี่วัน บางส่วนให้คัดถ่ายได้เลย และคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารอาจท ารายการที่เคย
วินิจฉัยไว้แล้ว เปิดเผยให้ประชาชน ให้ประชาชนมั่นใจว่าการขอเป็นไปได้
ในส่วนของกรมโรงงาน หากมีการอ านวยความสะดวกผู้ประกอบการในการยื่นขออนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์
แล้ว เอกสารที่เปิดเผยควรจะสามารถค้นได้เลย เช่น มีข้อมูลว่าใบอนุญาตเริ่มและหมดเมื่อไหร่ พร้อมกับเงื่อนไขด้าน
สิ่งแวดล้อมที่ประกอบใบอนุญาตนั้นและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพิ่มหมวดการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน
จะท าให้ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบได้สะดวกรวดเร็วเช่นกัน นอกจากนั้น เสนอให้กรมโรงงานพิจารณาในเรื่อง
การติดตามผู้ประกอบการที่มีความผิดไม่ว่าจะเป็นการด าเนินคดี การปรับ การลงโทษ เป็นส่วนหนึ่งในการติดตาม
ตรวจสอบที่สามารถเปิดเผยได้หรือไม่ในอนาคต จะท าให้ภาคประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบและอาจด าเนินการ
ภายใต้กฎหมายอื่น ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
คุณอรวรรณ สุทธางกูร (ผู้อ านวยการกองสถิติพยากรณ์ ส านักงานสถิติแห่งชาติ) โดยภารกิจของส านักงาน
สถิตินั้นข้อมูลที่รวบรวมมาได้สามารถเปิดเผยได้เป็นหลัก ยกเว้นข้อมูลส่วนบุคคลเวลาเก็บข้อมูลภาคสนามในส่วนนั้นไม่
สามารถเปิดเผยได้ซึ่งระบุไว้ในพระราชบัญญัติสถิติได้มี นอกจากนั้นข้อมูลบางส่วนที่เป็นข้อยกเว้นไม่สามารถเปิดเผย
เช่น ข้อมูลแผนที่ ที่เก็บโดยส านักงานสถิติเอง
คุณณัติกาญจน์ เสนอประเด็นในเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและ
ด้านสุขภาพ ซึ่งมาตรา9(8) มีการระบุว่าข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ปัจจุบันข้อมูลสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่รับผิดชอบ
โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และข้อมูลสุขภาพส่วนใหญ่รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข การเก็บข้อมูล
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพต้องมีการบูรณาการ และมีการวางแผนล่วงหน้า ปัจจุบันข้อมูลที่มีการบูรณาการ เช่น EHIA
ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเคยมีการประกาศ ค.1 2 3 ปัจจุบันมอบให้ส านักงานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ด าเนินการ ซึ่งให้ทางเจ้าของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบในการรับฟังความ
คิดเห็น ปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลแจ้งประชาชนว่าการรับฟังความคิดเห็นจะมีการจัดที่ไหน ประชาชนพื้นที่หาก
ไม่ได้รับเชิญ อาจจะเข้าไม่ถึงการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ในด้านสุขภาพ กองประเมินผลกระทบสุขภาพ กรมอนามัย
รับผิดชอบในเรื่องของอาชีวอนามัย และโรคระบาดซึ่งเกี่ยวกับสุขภาพในด้านสาธารณสุขมากกว่าในด้านอุตสาหกรรม
8