Page 6 - kpiebook65010
P. 6

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               บทคัดย่อ


                    รายงานการศึกษา เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการ

               ตรากฎหมาย” มุ่งศึกษา วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางดำเนินการและประสบการณ์เกี่ยวกับ
               การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมจากการตรากฎหมายของต่างประเทศเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะ
               เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางพิจารณาการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทย โดยมุ่งที่จะ

               ให้ได้รับผลลัพธ์ที่สำคัญสามส่วน ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
               ผลกระทบในต่างประเทศ 2) การถอดบทเรียนและสรุปองค์ความรู้และประสบการณ์ดำเนินการ

               จากต่างประเทศมาเป็นแนวทางพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบของไทย และ 3) การนำ
               องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาจัดทำเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

                    เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ข้างต้นรายงานการศึกษานี้ใช้การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเชิงเอกสารจาก

               เอกสารที่มีการเผยแพร่ล่าสุดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการศึกษาที่ทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางดำเนินการ
               ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาประสบการณ์ดำเนินการตามแนวทางของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป

               (EU) กลุ่มประเทศความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) รวมทั้งประสบการณ์ของ
               ประเทศสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์

                    ผลลัพธ์ของการศึกษาที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้


                    ส่วนแรกซึ่งเกี่ยวกับการทราบแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบในต่างประเทศนั้น
               ได้ข้อสรุปว่าปัจจุบันไม่มีการกำหนดแนวทางและเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม

               แยกต่างหากจากการวิเคราะห์ผลกระทบด้านอื่น ๆ โดยมักพิจารณาผลกระทบรวมกันไป เว้นแต่
               ในเรื่องใดที่มีการกำหนดให้ต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้านแยกย่อยออกไป เช่น

               การวิเคราะห์ผลกระทบด้านความเท่าเทียมทางเพศ (gender impact assessment) เป็นต้น
               ส่วนที่สองอันได้แก่ การถอดบทเรียนด้านแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบและเทคนิคการวิเคราะห์
               ผลกระทบ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าไทยสามารถพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบในส่วนที่ยังขาดอยู่ใน

               หลายประเด็น เช่น การกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงปริมาณและวิธีการวิเคราะห์
               หลักที่ไทยจะใช้ให้ชัดเจนมากขึ้น เป็นต้น ส่วนที่สามการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มา

               จัดทำเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ข้อสรุปในรูปของกรณีศึกษาโดยนำ
               การวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐไทยได้เคยจัดทำมาแล้วมาวิเคราะห์
               เพิ่มเติมตามข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                      VI
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11