Page 21 - kpiebook65030
P. 21
20 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นได้เทียบเท่าอัตลักษณ์อื่น เช่น ความเป็นผู้หญิง ความเป็นคนจน
หรือความเป็นคนต่างศาสนา เป็นต้น
3. การชี้น�าโดยชนชั้นน�า ปัญหาในข้อนี้เป็นทางแพร่งที่แก้ไขได้ยากยิ่ง
เพราะว่าหากพยายามขับชนนำาชั้นออกจากกระบวนการ อาจส่งผลให้ชนชั้นนำา
ล้มเลิกกระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะนี้ลงทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชน
ก็ต้องการให้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะดำาเนินการจนสิ้นสุดด้วยเช่นกัน
จึงเกิดเป็นทางแพร่งที่ต้องพิจารณาหาสมดุลในการดำาเนินกระบวนการระหว่าง
พลเมืองเสียงส่วนมากกับชนชั้นนำาเสียงส่วนน้อย
4. การเพิ่มความขัดแย้ง เนื่องจากบางประเด็นเมื่อถูกนำามาถกเถียง
อย่างเป็นสาธารณะ อาจส่งผลให้เกิดการเบี่ยงประเด็นจากการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นที่ต่างกันเพื่อนำาไปสู่การออกแบบรัฐธรรมนูญที่จะเป็นฉันทามติ
ร่วมกัน กลับจะนำาไปสู่ความรุนแรงระหว่างพลเมืองแต่ละฝ่ายที่คิดเห็นแตกต่างกัน
5. สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 อันเป็นวิกฤตในช่วงเวลา
ขณะนี้ ซึ่งอาจหาทางแก้ไขในเบื้องต้นได้ ตัวอย่างเช่น การจำากัดช่วงเวลา
ที่ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การปรับระยะเวลาจัดกิจกรรมสาธารณะ
ที่ยังไม่เร่งด่วนออกไปก่อน หรือปรับมาเป็นรูปแบบออนไลน์ หรืออาจใช้วิธี
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำากัดจำานวนคน
4 ขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ นอกจากนี้ บทเรียน
จากสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ทำาให้เราสามารถที่ตัวอย่างของ
ความสำาเร็จในกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย
4 ขั้นตอนได้แก่ กระบวนการขั้นตอนแรกคือ การรวบรวมกลุ่มเป้าหมายให้มี
ความหลากหลายเชิงพื้นที่ ขั้นตอนที่สองคือการส่งมอบข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมาย
อย่างรอบด้านและถกเถียงจนเข้าใจความรู้ดังกล่าวเพียงพอ จากนั้นขั้นตอน