Page 7 - kpiebook63001
P. 7

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร








               การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด





                     บรรยากาศการแข่งขันและความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               พ.ศ.2562 ในการเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีความเข้มข้น และมีระดับการแข่งขันที่แตกต่างกันไปตามจำนวน
               ของผู้สมัครที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ ดังเห็นได้จากการได้รับความสนใจจากแกนนำพรรคการเมืองต่างๆ

               ในการลงพื้นที่และจัดเวทีปราศรัยใหญ่หลายครั้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมหาเสียงในรูปแบบต่างๆ ของ
               ผู้สมัครที่มีความเข้มข้นมากกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาในอดีต ประกอบกับจำนวนผู้สมัครและพรรคการเมือง

               ที่มีจำนวนมาก อีกทั้งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 จึงทำให้บรรยากาศ
               ทางการเมืองและการเลือกตั้งในจังหวัดได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวสูงมาก

                     ด้านบทบาทและความเคลื่อนไหวจากกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ พบว่า ส่วนราชการระดับจังหวัดโดยเฉพาะ

               ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งทหารในพื้นที่ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการอำนวย
               ความสะดวก และสนับสนุนการเตรียมการจัดการการเลือกตั้ง  ส่วนการหาเสียงและแนะนำตัวของผู้สมัคร

               พบว่า กลุ่มการเมืองต่างๆ ไม่ได้แสดงบทบาทต่อการสนับสนุนหรือต่อต้านผู้สมัครหรือพรรคการเมืองพรรดใด
               พรรคหนึ่งอย่างชัดเจนนัก ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดงที่เคยมีบทบาทอย่างมากในการเลือกตั้ง พ.ศ.2554 ยังคง
               ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยแต่ได้กระจายตัวออกไปในการสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคการเมือง

               ต่างๆ

                     อย่างไรก็ดี แม้ว่าการใช้ระบบหัวคะแนนและการซื้อเสียงในลักษณะต่างๆ ยังคงมีอยู่ แต่ปัจจัยเหล่านี้

               กลับมีอิทธิพลน้อยลงอย่างมากต่อการตัดสินใจลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ในขณะที่การแข่งขันเชิงนโยบาย
               และการเรียนรู้จากความขัดแย้งหรือการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ในอดีตที่ผ่านมากว่าทศวรรษ ประกอบกับ
               สภาวการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ความนิยมต่อการบริหารงานของรัฐบาล

               ในขณะนั้น ไปจนถึงสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงมากต่อการตัดสินใจเลือก
               ของประชาชน


                     นอกเหนือจากการใช้รูปแบบและวิธีการหาเสียงต่างๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมแล้ว การใช้อินเตอร์เนท
               และพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและเปิดโอกาส

               ให้ประชาชนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองและผู้สมัคร ตลอดจนยังเป็น










                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12