Page 9 - kpiebook63005
P. 9

8    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น







                     บทสรุปส�ำหรับผู้บริหำร



























                      รายงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น” เป็นการศึกษาหลากหลายแง่มุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ
             การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ภายหลังที่สังคมไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลา

             นานเกือบ 5 ปี เหตุผลที่รายงานวิจัยนี้เลือกกรณีศึกษาเป็นจังหวัดขอนแก่นเนื่องด้วยจังหวัดขอนแก่นเป็น
             จังหวัดใหญ่และเป็นฐานเสียงสำาคัญของพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่า

             จะจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ดี ก่อนการเลือกตั้งในปี 2562
             ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายก

             รัฐมนตรีได้อาศัยนโยบายประชานิยมจำานวนมากภายใต้ชื่อว่า นโยบายประชารัฐ และมีการจัดตั้งพรรค
             พลังประชารัฐ เพื่อหวังที่จะชนะการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎกติกาที่ถูกออกแบบมาโดย คสช.

             โดยแกนนำาพรรคพลังประชารัฐคนหนึ่งเคยกล่าวอย่างมั่นใจว่า พรรคพลังประชารัฐจะได้ ส.ส. ทุกเขต
             ทั้ง 10 เขต ในจังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นดังกล่าวไม่น่าแปลกใจเนื่องจากกว่า 5 ปี ของรัฐบาล

             พล.อ. ประยุทธ์ได้อาศัยกลไกรัฐชิงความได้เปรียบให้ตนเองพร้อมกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อ
             บั่นทอนพลังของฝ่ายตรงข้ามจำานวนมาก ดังนั้น รายงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาความคิดและพฤติกรรม

             การเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาว่า สถานการณ์การเมืองที่
             เปลี่ยนไปตลอดห้าปีที่ผ่านมา รวมถึงการประสบพบเจอกับปัจจัยใหม่ๆ จำานวนมาก ชาวขอนแก่นยังคงรัก

             และศรัทธาในพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิมหรือไม่ หรือถ้าใช่หรือไม่ใช่ จะอยู่บนพื้นฐานเหตุผลใด


                      โดยวัตถุประสงค์ของรายงานวิจัยนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ
             อันนำาไปสู่การชิงความได้เปรียบของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2) เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทาง

             การเมืองก่อนการเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อวิเคราะห์การแข่งขันทางการเมืองและผลการเลือกตั้ง
             ในจังหวัดขอนแก่น และ 4) เพื่อวิเคราะห์ถึงภูมิทัศน์ทางการเมืองของจังหวัดขอนแก่นที่สัมพันธ์กับ

             ผลการเลือกตั้ง ผู้วิจัยอาศัยการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตทั้งแบบ
             มีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14