Page 15 - kpiebook63013
P. 15

15








                          จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในเชิงพื้นที่และจำานวนประชากรของภาคใต้ เป็นฐาน

                  ที่มั่นสำาคัญของพรรคการเมืองเก่าแก่ของประเทศไทยพรรคหนึ่ง ซึ่งก่อนเหตุการณ์การรัฐประหาร วันที่
                  22 พฤษภาคม 2557 ได้เกิดความแตกแยกภายในพรรคการเมืองนี้ขึ้น โดยผู้ที่แยกตัวออกมาเคลื่อนไหวทาง

                  การเมืองและต่อมามีการยกระดับโดยจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้นถือเป็นบุคคลสำาคัญทางการเมืองในพื้นที่
                  ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีนี้เอง ดังนั้นเพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมืองของผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้ง และ

                  ประชาชนทั่วไปว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ที่ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงไปทั้งเรื่องของรูปแบบ วิธีการตามกฎกติกาใหม่
                  ทางการเมืองนั้น เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญใหม่ดังกล่าวนั้นจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                  ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งข้อค้นพบที่ได้ภายหลังการศึกษาวิจัยนี้จะมีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปใช้เป็นฐานข้อมูล
                  เพื่อการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งในระดับพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ

                  ในภาพรวมของประเทศไทยต่อไปได้





                  1.2 วัตถุประสงค์



                          1.2.1 เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง ทั้งในส่วนของผู้ลงสมัครจากพรรคการเมืองต่าง ๆ
                  การรณรงค์หาเสียง การร้องเรียน ความตื่นตัวและทัศนะของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อการเลือกตั้ง

                  และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                          1.2.2 เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                          1.2.3 เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่น ๆ
                  ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                          1.2.4 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน

                  และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                          1.2.5 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อให้เห็นมูลค่า

                  ของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                          1.2.6 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผล
                  ต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20