Page 4 - kpi12626
P. 4

คำนำ




                                   ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อย
                              ต่างเคยประสบกับปัญหาในการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน
                              มาด้วยกันทั้งสิ้น ไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีเงินรายได้เข้ามาเมื่อใด
                              ไม่รู้ว่าจะได้รับภาษีจัดสรรในแต่ละงวดเป็นจำนวนเงินมากน้อย

                              เท่าใด ไม่รู้แน่ชัดว่ามีเงินสะสมเพียงพอสำหรับนำมาใช้จ่าย
                              ในยามฉุกเฉินหรือในสภาวะที่เงินสดขาดมือหรือไม่ ไม่แน่ใจว่า
                              ภาระหนี้สินขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมีเป็น
                              จำนวนเท่าใด จะมีเงินสดในมือมากพอที่จะจ่ายคืนให้แก่
                              เจ้าหนี้ทันกำหนดเวลาหรือไม่ หรือปัญหาที่มีความสำคัญยิ่ง
                              ก็คือท้องถิ่นจะมีเงินสำหรับจัดบริการให้แก่ประชาชนได้อย่าง

                              เพียงพอหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น

                                   ครั้นผู้บริหารท้องถิ่นจะมัวแต่นั่งรอคอยการรายงาน
                              ข้อมูลจากฝ่ายการคลังก็ดูจะไม่ทันการณ์ อาจได้ข้อมูลไม่ตรง
                              กับที่ต้องการ ตัวเลขข้อมูลมีความซับซ้อนเข้าใจยาก
                              ไม่สามารถเอาไปสื่อสารให้พนักงานในองค์กรหรือให้แก่
                              ประชาชนทั่วไปเข้าใจร่วมกันได้ หรือบางครั้ง อาจได้รับรายงาน
                              ข้อมูลการเงินการบัญชี หรือข้อมูลงบประมาณมาแล้ว แต่ก็ไม่รู้

                              ว่าจะต้องวิเคราะห์หรือตีความหมายเพื่อใช้ในการบริหารงาน
                              ท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร การบริหารงานคลัง
                              ท้องถิ่นในเชิงรับเช่นนี้ไม่ควรอยู่ในวิสัยของผู้บริหารท้องถิ่น
                              ในยุคสมัยแห่งประชาธิปไตยในปัจจุบัน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9