Page 5 - kpi12626
P. 5

IV การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือนคู่มือสำหรับผู้บริหารงานท้องถิ่นที่จะช่วย
                ตอบปัญหาต่างๆ ข้างต้น โดยการ (1) นำเสนอกรอบคิดในการประเมินฐานะ

                ทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (local financial position
                analysis) หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า “การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของท้องถิ่น
                ใน 4 มิติ” (2) นำเสนอข้อมูลฐานะทางการเงินของเทศบาลสำหรับใช้เป็น
                ข้อมูลเทียบเคียงผลการดำเนินงาน (benchmarking) ขององค์กรปกครอง
                ส่วนท้องถิ่นแห่งต่างๆ และ (3) นำเสนอแนวทางในการเสริมสร้างความ

                เข้มแข็งทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นรูปธรรม

                      ข้อมูลหลักที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มาจากงานวิจัยของผู้เขียนเรื่องการ
                วิเคราะห์ผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของเทศบาล ให้การ
                สนับสนุนโดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
                ข้อมูลต่างๆ ประกอบไปด้วยฐานะทางการเงินของเทศบาลในปีงบประมาณ
                2552 จำนวน 972 แห่ง ทำการวิเคราะห์โดยใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงินใน 4 มิติ

                (four-dimensional financial ratios) ซึ่งประกอบไปด้วยการบริหารสภาพคล่อง
                ทางการเงินในระยะสั้น (cash solvency) ความยั่งยืนทางด้านงบประมาณ
                (budget solvency) ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว (long-term solvency)
                และความเพียงพอในการให้บริการสาธารณะ (service-level solvency)

                      นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังนำเสนอกรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ฐานะ
                ทางการเงินของเทศบาลบางแห่ง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแนวทางการประยุกต์

                ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินที่เป็นรูปธรรม และในตอนท้าย
                ของหนังสือ ผู้เขียนนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลฐานะทาง
                การเงินในการวางแผนจัดบริการสาธารณะและการบริหารการเงินและ
                งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                พร้อมทั้งนำเสนอมาตรการส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเงินการคลังท้องถิ่น
                ทั้งในระดับจุลภาค (หน่วยงาน) และระดับมหภาค อันจะมีส่วนเกื้อหนุนให้
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งต่างๆ มีศักยภาพทางการเงินการคลังที่เพียงพอ

                สำหรับการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืนสืบต่อไป
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10