Page 272 - kpi12821
P. 272
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
(1) วันที่ครบหลักเกณฑ์การสิ้นสภาพ
พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพ ณ วันที่ครบหลักเกณฑ์อันเป็นเหตุแห่งการ
สิ้นสภาพพรรคการเมือง เช่น ครบกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้ง
พรรคการเมือง ณ วันที่ 31 มีนาคมแล้ว แต่พรรคการเมืองนั้นยังคงมีสมาชิกพรรคไม่ถึง
5,000 คน เช่นนี้ เมื่อพ้นเวลา 24.00 น. ของวันที่ 31 มีนาคม พรรคการเมืองดังกล่าว
ก็ย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไป เนื่องจากการสิ้นสภาพพรรคการเมืองเป็น
ไปโดยผลแห่งกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่มีเงื่อนไขและ/หรือเงื่อนเวลาครบถ้วน
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นวันสิ้นสภาพ ส่วนกระบวนการวินิจฉัยของนายทะเบียน
และ กกต. และการนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นเพียงกระบวนการตรวจ
สอบยืนยันข้อเท็จจริงอันนำมาซึ่งเงื่อนไขของกฎหมาย และเป็นเพียงขั้นตอนตามแบบ
พิธี โดยลำดับ เท่านั้น
(2) วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองลงนามในประกาศ
เมื่อนายทะเบียนสอบสวนข้อเท็จจริงจนได้ความปรากฏชัดแล้วว่า
0 พรรคการเมืองสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไปเพราะเหตุข้อหนึ่งข้อใดตามมาตรา
91 นายทะเบียนต้องเสนอเรื่องต่อที่ประชุม กกต. หาก กกต. ลงมติเห็นชอบกับความ
เห็นของนายทะเบียนแล้ว ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องลง
นามในประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคการเมืองดังกล่าวสิ้นสภาพ
ความเป็นพรรคการเมือง กรณีเช่นนี้ เห็นได้ว่า มีการปรับบทกฎหมายให้เกิดผลเฉพาะ
รายอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว
(3) วันลงประกาศราชกิจจานุเบกษา
ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมืองดังกล่าวต้องนำลงประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา (รจ.) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ถึงการสิ้นสุดลงของพรรคการเมือง
ให้สอดรับกับการจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งก็ได้ลงประกาศใน รจ. เช่นกัน การถือเอาวันลง
ประกาศใน รจ. เป็นวันสิ้นสภาพนิติบุคคลพรรคการเมืองเช่นนี้เป็นไปเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ของบุคคลภายนอกผู้สุจริต มิให้ต้องเสียหายในระหว่างเวลาที่นายทะเบียนลงนามจนถึง
วันที่ลงประกาศ รจ. ซึ่งโดยทั่วไปจะห่างกันประมาณ 1 – 2 เดือน
ในด้านหนึ่ง อาจมองได้ว่า เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองประกอบ
ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ชัดเจน ดังนั้น เมื่อกรณีมีพฤติการณ์ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์