Page 12 - kpi15476
P. 12
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันมี 29 ประเทศในโลกที่มีระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขของประเทศ สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนั้นการดำรงอยู่ของ
สถาบันกษัตริย์ในบริบทของสังคมตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันตั้งอยู่บนเงื่อนไขของ
ความมีคุณธรรม และหลักธรรมาภิบาล ซึ่งตรงกับคติ “ธรรมราชา” หรือ
พระมหากษัตริย์ผู้ทำให้ประชาชนสุขใจโดยธรรม ซึ่งเป็นแนวความคิดธรรมา-
ภิบาลพุทธ อันมีที่มายาวนานกว่า 2,000 ปี โดยพระเจ้าอโศกมหาราช
ซึ่งปกครองชมพูทวีปในระหว่าง พ.ศ. 270 ถึง พ.ศ. 312 เป็นจักรพรรดิ์ที่เป็น
ธรรมราชาพุทธพระองค์แรกที่เป็นต้นแบบในการนำคำว่าธรรมราชามา
ขยายความในเชิงการเมืองการปกครอง โดยกำหนดให้การปกครองต้องอาศัย
“ธรรมะ” หรือความดีใน 3 ระดับ คือ ประการแรก พระมหากษัตริย์และ
ผู้ปกครองต้องประพฤติธรรม อาทิ ทศพิธราชธรรม เป็นต้น ประการที่สอง
พระมหากษัตริย์ต้องชักนำให้ราษฎรประพฤติธรรม และประการที่สาม
การเอาชนะประเทศต่างๆ ต้องชนะด้วย “ธรรม” หรือ “ธรรมวิชัย” ไม่ใช่ชนะ
ด้วยอาวุธ หรือ “ยุทธวิชัย” ซึ่งเมื่อประเทศไทยได้รับคติพุทธเข้ามาศรัทธา
และปฏิบัติ จึงได้รับคติธรรมราชาดังกล่าวมาด้วย และเป็นหลักธรรมาภิบาลของ
พระมหากษัตริย์ในการปกครองประเทศไทยมาตั้งแต่สุโขทัยจนถึงปัจจุบัน
คติธรรมราชาของพระพุทธศาสนานี้ อาจเทียบเคียงได้กับคติราชาปราชญ์
ในอุดมคติของตะวันตก ซึ่งเพลโตได้อธิบายว่าเป็น “ผู้ปกครองซึ่งใช้ความรู้
ในการปกครองด้วยความเป็นธรรม” ราชาปราชญ์จึงเป็นการปกครองโดยผู้ที่มี
ความรู้ความสามารถและมีคุณธรรม ถ้าเทียบในปัจจุบันคือ ผู้ปกครองที่ได้ใช้
องค์ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาในสังคม อย่างลึกซึ้ง
เชี่ยวชาญ และเฉพาะด้าน ด้วยทักษะและศิลปะวิทยาอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ปกครอง
ที่ใช้ความรู้ความสามารถที่แท้จริงนั้นจะดำเนินการปกครองโดยอยู่บนพื้นฐาน
ของสันติสุขของมวลชน ไม่ปล่อยให้เกิดการทุจริตได้ และเปี่ยมไปด้วยความ
ยุติธรรม มีความรอบรู้ และด้วยความกระจ่างแจ้ง อย่างไรก็ตามคติธรรมราชา
และคุณธรรมในการปกครองของพระมหากษัตริย์ในตะวันตกย่อมมีความ
แตกต่างกับพระมหากษัตริย์ในประเทศตะวันออกไปตามสภาพบริบทของสังคม
แต่ที่เป็นจุดร่วมกันคือ “การปกครองเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร”
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์สุดท้าย และพระมหากษัตริย์ในระบอบ
ประชาธิปไตยพระองค์แรก ได้ทรงยึดมั่นในการปฏิบัติในแนวทางธรรมราชา
ตลอดรัชสมัย เช่น การทรงเลือกที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ และไม่ต่อสู้กับ
คณะราษฎร เพื่อมุ่งรักษาประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด
การสร้างสันติวิธีและธรรมาภิบาล ทรงริเริ่มส่งเสริมประชาธิปไตยโดยการวาง