Page 13 - kpi15476
P. 13
12 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
รากฐานการยกร่างกฎหมายเทศบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญไว้
เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงสองฉบับ ทรงวางรากฐานระบบบริหารงานบุคคลด้วย
ระบบคุณธรรม สำหรับการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินที่ทันสมัยด้วยการสร้างสำนักงาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
นอกจากนี้ ยังทรงริเริ่มและสนับสนุนการศึกษาภาคประชาชน โดยการมีพระราชหัตถเลขา
ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการเพื่อให้มีการเตรียมพร้อมด้านการศึกษาให้แก่ประชาชน
และทรงสนับสนุนการสร้างประชาธิปไตยโดยการให้ประชาชนได้รู้จักทำการปกครองตนเอง
ในระดับท้องถิ่น คือเทศบาลก่อน แล้วจึงจะให้ทำการเลือกตั้งผู้แทนสู่รัฐสภาในระดับชาติ
ทรงสนับสนุนความเสมอภาคของชาย-หญิง รวมถึงการวางรากฐานสถาบันครอบครัว ได้แก่
พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 โดยทรงแสดงแบบอย่างปลูกฝังให้คนไทยมีสามี-
ภรรยาเดียว เป็นอาทิ และทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และดูแลอภิบาลประชาชนในประเทศให้มี
ความเป็นอยู่ที่ดีผ่านกฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราช-
บัญญัติที่เป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันนี้ อาทิ พระราชบัญญัติควบคุมการค้าขาย
อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครอง
สวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นทั้งด้านสาธารณูปโภค และ
การเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การประกันภัย
จนกล่าวได้ว่า พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สะท้อนความเป็น
ธรรมราชาที่ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงทำให้ประชาชนสุขใจโดยธรรม อันเป็นจุดเริ่มต้นให้กับพระมหากษัตริย์
ในระบอบประชาธิปไตยองค์ต่อมา
ในวโรกาสที่จะครบรอบ 120 ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 สถาบันพระปกเกล้าจึงจะจัดประชุมวิชาการสถาบันครั้งที่ 15
(KPI Congress XV) ขึ้น ในหัวข้อ “ธรรมราชา” เพื่อเฉลิมฉลองปีอันสำคัญนี้ อันจักเป็นการ
เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงเป็น “ธรรมราชา” ที่เปลี่ยนผ่านจาก “ธรรมราชาสมบูรณาญา-
สิทธิราชย์” มาสู่ “ระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ” (Constitutional Monarchy)
โดยสันติวิธีปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ ผ่านการศึกษาการเปรียบเทียบและวิเคราะห์แนวคิด
ธรรมราชาในบริบทของตะวันออก และแนวคิดอื่นที่เทียบเคียงในบริบทของตะวันตก และเป็น
การแลกเปลี่ยนแนวทางการนำแนวคิดธรรมราชามาประยุกต์เป็นหลักปฏิบัติสำหรับนักปกครอง
รวมถึงการศึกษาพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในการวางรากฐานในเรื่องต่างๆ ตลอดจนวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ได้ทรงริเริ่มไว้เพื่อความผาสุกร่มเย็นของ
ประชาชนนั้น ได้รับการสานต่อมาเพียงใดตราบจนปัจจุบัน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการวิเคราะห์ เสนอแนะ ผลงานวิชาการในประเด็นเกี่ยวกับ
หลักธรรมราชา คุณธรรมสำหรับผู้นำ ผู้ปกครองและหลักธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน
ของสังคม