Page 374 - kpi17968
P. 374
363
3) รัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายการเมืองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
ทุกฝ่ายต้องยุติการดำเนินการที่อ้างความถูกต้องของกฎหมายและกระบวนการ
ยุติธรรมเพื่อผลประโยชน์ในระยะสั้นของตนเองซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือ
ศรัทธาต่อหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว โดยขอให้ทุกฝ่าย
มุ่งเน้นการผดุงหลักนิติธรรมในประเทศไทยอย่างจริงจัง และแสดงให้เห็นถึง
เจตนารมณ์ทางการเมือง (Political Will) ร่วมกันโดยทุกฝ่ายอย่างชัดเจนที่จะ
ยึดถือหลักนิติธรรมในการบริหารประเทศ
4) การใช้อำนาจของรัฐทุกองค์กรต้องสอดคล้องกับกระบวนการตาม
กฎหมาย (Due Process of Law) และเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น
และจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะโดยทางกระบวนการนิติบัญญัติ ตุลาการ หรือองค์กรอิสระอื่นๆ รวมทั้ง
ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากองค์อื่นที่ไม่ใช่รัฐ เช่น ภาคประชาสังคมด้วย
นอกจากนี้ รัฐต้องกำหนดมาตรการบังคับที่มีประสิทธิภาพในกรณีที่รัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจโดยมิชอบด้วย
5) กฎหมายที่ใช้บังคับในรัฐต้องมีที่มาโดยชอบ มีความชัดเจนแน่นอนและ
สามารถเข้าใจได้ รัฐจึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของรัฐและเผยแพร่
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎหมายและร่างกฎหมายต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่าง
กว้างขวางและทั่วถึง
6) รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของ
สาธารณชนว่าหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่อยู่
ในสังกัดของฝ่ายบริหารสามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกแทรกแซง
ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมพึงวางตนเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ยึดหลักความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ
7) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเป็น
พื้นฐานสำคัญต่อการสร้างความปรองดอง รัฐจึงต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับหลักการของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะในภาวะที่
สถานการณ์ความขัดแย้งมีความละเอียดอ่อน รัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการ
การประชุมกลุมยอยที่ 3