Page 370 - kpi17968
P. 370

359




                         การวิพากษ์วิจารณ์และโต้แย้งข้างต้นถูกขยายวงกว้างสู่สังคม ทำให้เกิด

                   ความสงสัยและไม่เชื่อมั่นในหลักนิติธรรมของสังคมไทย ซึ่งคงปฏิเสธมิให้มีผลต่อ
                   เนื่องไปถึงความเชื่อมั่นต่อระบบการเมืองและกระบวนการยุติธรรมโดยรวม
                   ทั้งหมดไม่ได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฝ่ายที่ถูกตรวจสอบและสังคมส่วนหนึ่งรู้สึกว่า

                   เป็น “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” หากปล่อยทิ้งไว้มีแต่จะทำให้ปัญหาความขัดแย้ง
                   ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และอาจทำให้เกิดเป็นข้อขัดแย้งใหม่ขึ้นมาอีก กระบวนการ
                   สร้างความปรองดองในสังคมไทยจึงไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ หากไม่มีการ

                   แก้ไขอุปสรรคสำคัญในเรื่องนี้ให้หมดสิ้นไป และส่งเสริมให้หลักนิติธรรมใน
                   สังคมไทยเกิดขึ้นอย่างแท้จริงเสียก่อน


                         เมื่อพิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ประกอบกับ
                   ทางปฏิบัติที่เกิดจากการปรับใช้รัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าสังคมไทยยังห่างไกล
                   จากความเป็นนิติธรรมมากนัก แม้มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญจะประกาศยอมรับ

                   หลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่หลักการดังกล่าวก็ได้ถูกทำลายลงในมาตรา 239
                   ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยเพิกถอน
                   สิทธิเลือกตั้งของบุคคลก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด

                   ซึ่งเท่ากับให้อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นศาลได้ใน
                   ตัวเอง แม้รัฐธรรมนูญจะยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลใน หมวด 3 แต่ก็
                   ทำลายหลักการประกันสิทธิทางการเมืองของบุคคลในมาตรา 237 ที่กำหนดการ

                   ให้การกระทำความผิดของบุคคลคนเดียวนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองทั้งพรรค
                   และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลที่เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย แม้บุคคล
                   นั้นจะไม่ได้กระทำความผิดก็ตาม


                         แม้มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญจะประกาศหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
                   รัฐธรรมนูญ แต่หลักการดังกล่าวก็ถูกทำลายลงในมาตรา 309 เพราะตาม

                   บทบัญญัติมาตราดังกล่าวการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำที่ได้รับรองไว้ใน
                   รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แม้จะกระทำต่อไปในอนาคต ก็ได้รับการรับรองไว้ล่วง
                   หน้าแล้วว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  มิพักต้องคำนึงว่าการกระทำนั้นจะชอบด้วย

                   รัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อพิจารณาในทางนิติศาสตร์แล้ว รัฐธรรมนูญแห่ง
                   ราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขัดแย้งกันเองมากที่สุดฉบับหนึ่ง






                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 3
   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375