Page 87 - kpi17968
P. 87

76




                     1.   มาตรฐานสากลโดยไม่ลืมภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายความว่า สนธิ

               สัญญาที่เราเป็นภาคีก็จะต้องปฏิบัติตามเพราะสัญญาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา
               ทั้งหลายของสากล สิทธิเด็ก สิทธิสตรี เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสุด อย่าต่ำกว่านี้
               แต่ในบางกรณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจจะสูงกว่าหลักสากล ก็ต้องไม่ลืมภูมิปัญญา

               ท้องถิ่น เช่น มาตรฐานสากล อนุสัญญาสิทธิเด็ก กติกาห้ามลงโทษผู้ที่อายุต่ำกว่า
               18 ปี ประเทศไทยเคยมีกฎหมายที่ต่ำกว่านั้น แต่ปัจจุบันเรายกมาตรฐานโดยการ
               แก้ไขกฎหมายแล้ว ไม่มีการลงโทษผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกฎหมายยกเลิกแล้ว

               แล้วส่วนที่จะยกเลิกสำหรับผู้ใหญ่คุยกันอีกที


                       สำหรับเรื่องมาตรฐานสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่นในประเทศไทย มี
               4 ประเด็นที่สำคัญมาก ดังนี้


                       ประเด็นที่หนึ่ง การใช้กฎหมายความมั่นคงซึ่งประเทศไทยมีหลายฉบับ
               เช่น พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกำหนดสถานการณ์
               ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมถึงกฎหมายอาญาบางมาตรา ที่เราจะต้องพิจารณาว่ามี
               การบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นได้อย่างสอดคล้องกับหลักนิติธรรมและหลัก

               ประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ถ้าหากสถานการณ์ทางภาคใต้ จะพบว่ามีการนำ
               พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯมาประกาศใช้ร่วมกับพระราชบัญญัติ

               กฎอัยการศึกฯ ทำให้สามารถควบคุมตัวได้โดยไม่ปรากฏในศาลนานถึง 37 วัน
               ซึ่งไม่เป็นผลดีสำหรับเจ้าหน้าที่ เพราะจะถูกกล่าวหาว่ามีการทรมานนักโทษ
               ด้วยเหตุนี้ การรีบนำตัวนักโทษขึ้นสู่ศาลโดยเร็วอาจจะเป็นการดีเสียกว่า จึงได้มี
               คำชี้แนะจากประธานศาลฎีกาที่พยายามยึดหลักนิติธรรมว่าให้พาผู้ต้องหาเข้าสู่

               การพิจารณาของศาลโดยเร็วไม่จำเป็นต้องรอ 37 วัน โดยคำนึงถึงหลักทีว่า
               ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือการปฏิเสธความยุติธรรม


                       ประเด็นที่สอง การจำกัดต่อสิทธิในการแสดงออกในการรวมกลุ่ม
               ซึ่งอาจจะกระทบถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการใช้กฎหมายที่

               เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประเด็นดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเนื่องจาก
               สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในการรวมกลุ่ม ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด แต่
               เป็นสิทธิที่อาจถูกจำกัดได้ตามหลักเกณฑ์ ที่สำคัญคือ จะต้องคำนึงถึงความจำเป็น
               ความได้สัดส่วน และความชอบด้วยกฎหมาย





                   ปาฐกถาพิเศษ
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92