Page 88 - kpi17968
P. 88
77
ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ได้มีเพียงในกฎหมาย
ไทยอย่างเดียว หากแต่ในหลายๆประเทศก็มีกฎหมายลักษณะดังกล่าวนี้ แต่สิ่งที่
สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ซึ่งก็มีข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
3 ข้อ ได้แก่
1. ใครเป็นฝ่ายมีอำนาจฟ้องภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
112 ซึ่งในประเทศไทยนั้น ใครฟ้องก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่หลายหน่วย
ก็กำลังพิจารณาว่าน่าจะมีวิธีกรองก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล
2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการลงโทษจำคุก 3-12
ปี ซึ่งมีท่านผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าเดิมที ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 112 ไม่ได้ลงโทษแบบนี้ แต่เริ่มนับการจำคุกจาก 0 ปี
1
ดังนั้น การลงโทษโดยเริ่มจาก 3 – 12 ปี จึงเป็นสิ่งที่ถูกวิพากษ์
วิจารณ์ จึงเป็นประเด็นที่น่าพิจารณาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะ
ยืดหยุ่นโดยไม่ต้องเริ่มนับจาก 3 ปี โดยอาจเริ่มจาก 0 ปี
3. การกำหนดให้การกระทำที่ถือเป็นการหมิ่นประมาทเป็นความผิด
ทางอาญานั้น ถือเป็นหลักข้อยกเว้นต่อสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงออก และการแสดงความคิดเห็น มีข้อยกเว้น แต่แนวโน้ม
ที่โลกปัจจุบันเน้นคือ การหมิ่นประมาทควรจะเป็นความรับผิด
ทางแพ่งมากกว่าความรับผิดทางอาญา เรื่องความผิดในกรณีนี้
จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจาณาเช่นกัน
ประเด็นที่สาม การใช้ศาล ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้ศาล
อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และอะไร
ย่อมดีขึ้นหากมองความหลากหลายที่เกี่ยวกับหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย
ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้
1 เช่น กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 กำหนดให้ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีโทษจำคุก
ไม่เกินกว่า 3 ปี และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 7 ให้เป็นโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ไม่
ได้กำหนดว่าอย่างน้อยต้องจำคุกกี่ปี
ปาฐกถาพิเศษ