Page 344 - kpi18886
P. 344
336
ประชาชนต้องไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
และมีกฎหมายคุ้มครองประชาชนที่ชี้เบาะแส ส่วนกลไกปลายน้ำ หมายถึง
ช่วงหลังดำรงตำแหน่ง เช่น กำหนดว่าหากถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งไม่ว่า
กรณีใด ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป กำหนดระยะเวลาการพิจารณาคดี
ให้ชัดเจน และขยายอายุความคดีทุจริตให้ยาวขึ้น และสามารถฟ้องคดีทุจริต
ลับหลังได้
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีกลไกในการปราบโกงมากมาย
แต่ก็ยังพบว่ามี “รูรั่ว” อยู่มากมายเช่นกัน ทั้งที่เกิดจากมาตรฐานจริยธรรม
ที่บังคับใช้จริงไม่ได้ การมีหน่วยงานตรวจสอบน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนคนทุจริต
ส่วนพลังประชาชนที่เคยสามารถเข้าชื่อถอดถอนได้ แต่ในฉบับนี้เหลือเพียงมีสิทธิ
เข้าชื่อกล่าวหาเท่านั้น ในขณะที่รูรั่วที่เกิดจากตัวรัฐธรรมนูญเองนั้น แม้หลักการดี
แต่การออกกฎหมายลูกอาจไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็ได้ ดังนั้น
วิธีการอุดรูรั่วในการปราบโกง มี 3 กลุ่ม คือ การให้รางวัล โดยการสร้าง
ประชาธิปไตยให้มั่นคง ให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็นเพื่อปิดช่องทางการโกง อบรม
ให้ความรู้ด้านจริยธรรม และเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดเผยข้อมูลต่างๆ
การลงโทษ โดยสร้างกลไกทำให้ผลตอบแทนความเสี่ยงในการทุจริตไม่คุ้มค่า
มีการยึดทรัพย์ทั้งตระกูล และเพิ่มโทษให้รุนแรงยิ่งขึ้น ส่วนวิธีกลางๆ ได้แก่
การกำหนดมาตรฐานจริยธรรมให้ชัดเจน ให้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ ไม่ใช่
เครื่องมือทางการเมือง ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบโกง ใช้มาตรการ
ทางสังคม และเน้นการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ความท้าทาย “การเมือง
ไร้โกง” แม้อาจจะยังไม่ผ่าน แต่สังคมก็ยังคงต้องปฏิเสธการทุจริตทุกรูปแบบ
ข้อเสนอที่กล่าวมานี้ไม่ได้คาดหวังให้การเมืองไทยไร้โกงได้ แต่อย่างน้อยคาดหวัง
ว่าจะช่วยลดความเสียหายของสังคมที่เกิดจากการทุจริตลงได้
สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย