Page 560 - kpi18886
P. 560
552
การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจต้องปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
โดยสร้างความเป็นธรรมทั่วถึงในสังคม โดยต้องวางรากฐานทางโครงสร้าง
ที่ไม่สะดุดและดำเนินการไปได้ในระยะยาวจะทำอย่างไรให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ไม่สะดุด เราพูดถึงประเทศไทย 4.0 หรือการ synergy พลัง ประชารัฐ
จะทำอย่างไรให้ไม่สะดุดและได้มีประสิทธิภาพในระยะยาว Abonyi ได้กล่าวถึง
การยกระดับความสามารถในการผลิตทั้งระดับปัจเจก และ หน่วยผลิต ที่ก้าวทัน
การเปลี่ยนแปลงของโลก และมีนโยบายรัฐที่มีความต่อเนื่องนั่นคือการเมืองให้ดี
ไม่ได้เท่ากับประชาธิปไตยยั่งยืน ดังที่ รศ. ดร.สิริพรรณ กล่าวถึงกลไกมากมาย
การเลือกตั้งอันเป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับ อ.นรนิติ ที่กล่าวว่าการเลือกตั้งคือ
การให้สิทธิที่เท่าเทียมกับประชาชน การเลือกตั้งจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้าง
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว หลังการเลือกตั้งต่างหาก ผู้ที่เข้าสู่
อำนาจของรัฐสามารถบริหารปกครองประเทศได้ สิทธิเสรีภาพได้รับหลักประกัน
ระบบการตรวจสอบทำงน กลไกของรัฐไม่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
และสังคม และสุดท้ายภาคประชาสังคมและภาคประชาชนคือกลไกสำคัญที่ทำให้
ประชาธิปไตยยั่งยืน การสร้างสังคมประชาธิปไตยจึงไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียว
แต่การเลือกตั้งคือกุญแจสำคัญ ที่ต้องตามมาด้วยยอมรับในกติกา ยอมรับ
ความชอบธรรมในการมีกฎหมาย มีกติกาที่ผ่านประชามติมาร่วมกัน และให้
การแก้ไขในเนื้อหาหรือสาระที่ไม่ชอบ (คือไม่ชอบก็แก้ไข ไม่ใช่ยกเลิก) การมี
ความพร้อมของทุกภาคส่วนที่จะประนีประนอม ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใน
ปาฐกถาปด