Page 4 - kpi20207
P. 4
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 3
ค�ำน�ำของสถำบันพระปกเกล้ำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติ
ที่ครอบคลุมถึงการมีกลไกต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อวัตถุประสงค์ใน
การปฏิรูปประเทศ การออกแบบสถาบันการเมืองเพื่อวางรากฐานและ
พัฒนาประชาธิปไตยถือเป็นหัวใจหลักประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำาเร็จ
ของการปฏิรูปการศึกษาวิจัยการเมืองเชิงสถาบันทั้งในแง่หลักการ กฎหมาย
ระเบียบ กติกา และในเชิงโครงสร้างโดยเน้นที่องค์กรทางการเมืองสำาคัญๆ
จึงมีความสำาคัญสำาหรับการนำาผลการศึกษาที่ได้รับไปพัฒนาเป็นองค์ความรู้
เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปฏิรูปและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
โครงสร้าง อำานาจหน้าที่ และการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำานาจระหว่าง
สถาบันการเมืองต่างๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองกับ
ประชาชนที่เหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย
อย่างยั่งยืนต่อไป
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายได้ถูกบัญญัติ
ไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ
เป็นกระบวนการหนึ่งในการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายเพื่อให้
กระบวนการจัดทำากฎหมายนำามาซึ่ง “กฎหมายที่ดี” การรับฟังความคิดเห็น
ในการจัดทำากฎหมาย จึงเป็นกระบวนการสำาคัญที่ควรจะได้มีการพัฒนาเป็น
รูปแบบที่เป็นระบบ โดยมุ่งหวังให้การรับฟังความคิดเห็นเป็นกระบวนการ
ที่ควรจะมีขึ้นตั้งแต่กระบวนการก่อน ระหว่าง และภายหลังยกร่างกฎหมาย
เพื่อให้กระบวนการจัดทำากฎหมายได้สร้างกฎหมายคุณภาพเพื่อใช้ควบคุม
ดูแลความสงบสุข รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งให้
01-142 PublicConsult_ok.indd 3 22/6/2562 BE 17:26